จากป่าชุมชนสู่ป่าพลเมือง: บทเรียนและยุทธศาสตร์ การเปลี่ยนผ่านการจัดการป่าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ป่าชุมชนเกิดขึ้นบนฐานของการจัดการพื้นที่ป่าร่วมกันของสมาชิกในชุมชน เพื่อลดความยากจน สร้างความมั่นคงทางอาหาร และความสมดุลของระบบนิเวศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการจัดการป่าของรัฐไทยเป็นระบบรวมศูนย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทำให้รัฐไม่ยอมรับให้ชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์จัดการป่าชุมชนได้ ชุมชนเหล่านี้ประสบความเดือดร้อนเกิดเป็นขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิชุมชนในการจัดการป่า
ขบวนการสิทธิชุมชนพยายามผลักดันให้เกิดกฎหมายป่าชุมชนมากว่า 30 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดการป่าชุมชนโดยคนในท้องถิ่นยังคงล้มเหลว เนื่องจากคนเหล่านั้นถูกกีดกันจากกระบวนการตัดสินใจทางนโยบาย นอกจากนี้ ไม่เพียงคนในท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อการจัดการป่าชุมชน แต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ ก็ควรให้ความสำคัญกับสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืนของพวกเขาด้วยเช่นกัน ดังนั้น การขับเคลื่อนของขบวนการป่าชุมชนก้าวต่อไป จึงควรเผยแพร่ต้นแบบแนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วมไปสู่สังคมกลุ่มต่างๆ ให้นำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดเป็นป่าพลเมืองในที่สุด
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์