ระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมือง: ศึกษาเปรียบเทียบไทยและมาเลเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองเปรียบเทียบไทยและมาเลเซียระหว่างปี พ.ศ. 2540-2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองเปรียบเทียบไทยและมาเลเซียและวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองต่อเสถียรภาพทางการเมืองของไทยและมาเลเซีย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเอกสาร และการศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง
ผลการศึกษาพบว่า ระบบการเลือกตั้งของไทยและมาเลเซียแม้จะเป็นระบบพหุนิยม หรือเสียงข้างมากธรรมดาซึ่งเอื้อต่อพรรคการเมืองขนาดใหญ่และระบบพรรคการเมืองจำนวนน้อยพรรค แต่รูปแบบการเลือกตั้งของไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง เช่น ระบบเขต เขตละคนเสียงข้างมากธรรมดา ระบบเขต ๆ ละ 1-3 คนเสียงข้างมากธรรมดา และระบบเลือกตั้งแบบผสมระหว่างระบบสัดส่วนและระบบเขต ซึ่งนำมาใช้ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา โดยรูปแบบการเลือกตั้งเหล่านี้ของไทยมักจะนำไปสู่ระบบหลายพรรคการเมืองที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองและยังคงไม่มีฉันทามติเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง ขณะที่มาเลเซียใช้ระบบเขต เขตละคนเสียงข้างมากธรรมดามาโดยตลอด และนำมาสู่ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองที่มีมากกว่าไทย อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งสองครั้งที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง