เสียงแห่งบ้านแม่กลางหลวง: การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ภายใต้บริบทการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Main Article Content

วัชรารินทร์ วงศ์ษานิติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและกระบวนการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่กลางหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ภายใต้บริบทการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากผลการศึกษาพบว่า ในอดีตกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอได้เผชิญกับอคติจากรัฐและสังคมในการทำระบบเกษตรกรรมอย่างการทำไร่หมุนเวียนที่ไม่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐที่มองว่าส่งผลให้เกิดไฟป่า หรือเป็นการทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติ อีกทั้งพื้นที่อยู่อาศัยถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอุทยานแห่งชาติ จึงทำให้ต้องมีการต่อรองความสัมพันธ์เชิงอำนาจในหลากหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งคือ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรม โดยมีภาครัฐส่งเสริมการทำนาขั้นบันไดและการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดรายได้และมีอาชีพในการดำรงวิถีชีวิต หรือการที่ให้ชุมชนมีสิทธิและการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ได้ให้สิทธิแก่ชุมชนทั้งหมดในการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ เพียงแค่เป็นการผ่อนปรนและส่งเสริมชุมชนให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ อัตลักษณ์ของชุมชนภายใต้บริบทการท่องเที่ยวกลับเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมากกว่า หรือกลายเป็นแบบจำลองเพื่อแสดงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมให้นักท่องเที่ยวได้มาชมในมิติเชิงการสร้างความหมายใหม่และเชิงพาณิชย์ที่กลายเป็นสัญลักษณ์หรือจุดขายของการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ โดยจะพบว่า คนในชุมชนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ได้มีการรับวัฒนธรรมสมัยใหม่มาใช้กับตนเองตามบริบทที่เปลี่ยนไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)