บทปริทัศน์หนังสือ Pollution Is Colonialism

Main Article Content

อารียา ติวะสุระเดช

บทคัดย่อ

          ประเด็นมลพิษและพลาสติกเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก ซึ่งมาพร้อมกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และความซิวิไลซ์ของเมือง ขณะที่หลาย ๆ ประเทศ เริ่มให้ความสนใจต่อการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต แต่ภาพแพขยะและพลาสติกขนาดมหึมากลางมหาสมุทร
ในแม่น้ำลำคลอง และผืนดินที่ขยะถูกฝังกลบ ได้กลายเป็นมรดกที่คนรุ่นนี้และ
รุ่นต่อไปต้องเผชิญ สามารถจินตนาการได้ในภาพยนต์ไซไฟกู้โลกจำนวนไม่น้อย เช่น ภาพยนต์เรื่อง Wall-E ต่างกล่าวถึงโลกหลังหายนะที่กองขยะท่วมเมืองและไร้ทางออก ในปัจจุบันประเด็นสิ่งแวดล้อมกลายเป็นภารกิจหนึ่งในการพัฒนาของภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกวัย ดังที่เราจะเห็นผู้คนเริ่มรณรงค์ลดการใช้พลาสติกหรือหาผลิตภัณฑ์ที่จะทดแทนการใช้แล้วทิ้ง ตลอดจนเก็บขยะในพื้นที่ธรรมชาติ จนกระทั่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2
ที่ก่อให้เกิดโรคระบาด COVID-19 ไปทั่วโลกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา การใช้พลาสติกแล้วทิ้งดูจะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยของทุกคน
แล้วเราจะอยู่อย่างไรกับพลาสติก

Article Details

บท
บทปริทัศน์หนังสือ (Book Review)

References

ภาษาไทย

- กษมา พลกิจ, ปวร มณีสถิตย์, ยุพเรศ สิทธิพงษ์, สถาปนา กิตติกุล และ

รณวีร์ สุวรรณทะมาลี. (2562). “สเกลนั้นสำคัญไฉน: สเกลกับ

ธรรมเนียมปฏิบัติของการวิจัย”. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 6(1). 2-23.

- ประสิทธิ์ ลีปรีชา และมุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ. (2564) “การศึกษาเพื่อความ

เป็นไทยกับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคเหนือ”. วารสารธรรมศาสตร์,

(2): 68-97.

ภาษาอังกฤษ

- Liboiron, M. (2021). Pollution Is Colonialism. Durham: Duke University Press.