การสังเคราะห์องค์ความรู้สถานการณ์ความเสี่ยง และการฟื้นฟูชีวิตของแรงงานนอกระบบ กรณีการระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

บวร ทรัพย์สิงห์
กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล
อุ่นเรือน เล็กน้อย
วิชยา โกมินทร์
มนทกานต์ ฉิมมามี

บทคัดย่อ

           การสังเคราะห์องค์ความรู้สถานการณ์ความเสี่ยง และการฟื้นฟูชีวิตของแรงงานนอกระบบ มีเป้าหมายเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ สถานการณ์ปัญหา และแสวงหาแนวทางการฟื้นฟูงานและชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานนอกระบบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการจัดสนทนากลุ่มกับนักวิชาการ นักพัฒนา และผู้แทนแรงงานนอกระบบแต่ละกลุ่มอาชีพ จำนวน 7 ครั้ง ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้าน 2) กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย 3) กลุ่มพนักงานนวดและพนักงานร้านอาหาร 4) กลุ่มคนขับแท็กซี่และจักรยานยนต์รับจ้าง 5) กลุ่มคนถีบสามล้อ 6) กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน 7) กลุ่มคนเก็บและคัดแยกของเก่า ระหว่างวันที่ 2 – 30 กรกฎาคม 2564 มีผู้ร่วมประชุม รวม 37 คน
           ผลการศึกษา พบว่า แรงงานนอกระบบเผชิญปัญหาความเสี่ยงก่อน การระบาดและการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดปัญหาการประกอบอาชีพ ปัญหาด้านรายได้ หนี้สิน และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งถือเป็นปัญหาร่วมที่สำคัญของแรงงานนอกระบบทุกกลุ่ม ในขณะที่แนวทางการฟื้นฟูงานและชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานนอกระบบ จำเป็นต้องส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงงานและรายได้ที่มีความมั่นคง เข้าถึงทรัพยากรและทุนการประกอบอาชีพ ได้รับการดูแลสุขภาพ การคุ้มครองทางสังคม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม และการพัฒนาทักษะ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานด้านการทำงาน สวัสดิการ การคุ้มครองทางสังคม อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ภาษาไทย

- กรมควบคุมโรค. (2566). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 รายวัน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/?dashboard=select-trend-line. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

- จิรวรรณ กิติวนารัตน์, นพวรรณ วิเศษสินธุ์ และภัทรา สุขะสุคนธ์. (2565). “การปรับตัวธุรกิจร้านอาหารภายหลังวิกฤตโควิด-19”. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2): 137-146.

- ณัฐจารี กองสา. (2565). “ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้าน ที่อยู่อาศัยของผู้ค้าอาหารในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี ในช่วง พ.ศ.2563-2564”. สาระศาสตร์, 5(2): 332-344.

- ธิดาพร สันดี. (2564). “ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในกลุ่มอาชีพนักดนตรี”. จันทรเกษมสาร, 27(2): 298-316.

- บวร ทรัพย์สิงห์ และวิชยา โกมินทร์. (2563). “ชีวิตและงานของคนเก็บของเก่า ในภาวะวิกฤติโควิด-19”. วารสารวิจัยสังคม, 43(2): 55-86.

- บีบีซี. (2564). โควิด-19: สธ. จับตา กทม. สายพันธุ์เดลตาระบาดแซงอัลฟา ใน 3 เดือน เริ่มมาตรการกักตัวที่บ้านตามสมัครใจ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-57635647. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

- มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2561). Social Determinants & Health Inequity Report of Thailand. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/ node/27882. (เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566).

- ราชกิจจานุเบกษา. (2563). พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดติอไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/handle/ 20.500.13072/561520. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

- ลือชัย ศรีเงินยวง และคณะ. (2565). กลุ่มเปราะบางกับความเหลื่อมล้ำในสถานการณ์โควิด. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5763? fbclid=IwAR2pVzBOTPWtdn5ewYjx6yt1Vn38EK31Qtwxkn3qxkXza8gHoJUnXZKNXfA&locale-attribute=th. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

- วรรณิภา สูงสุมาลย์ และพิมพ์ชนก ไพรีพินาศ. (2564). “การปรับตัวของแรงงานนอกระบบ ภายใต้วิกฤตทางสังคมจากการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษากลุ่มคนขับรถรับจ้าง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด”. Journal of Modern Learning Development, 6(6): 155-169.

- สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสํารวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/

ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/Informal_work_force/2564/Report_ IES2021.pdf. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

- สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=11972. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

____________.(2565). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2564. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=13081. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส). (2563). ล็อกดาวน์ "สมุทรสาคร" 14 วัน คุมไม่อยู่ ติดเชื้อรวม 548 คน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/ news/content/299367. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

- องค์การอนามัยโลก. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด 19). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2021_09_23_tha-sitrep-202-covid19.pdf?sfvrsn=3a8bb0aa_5. (เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566).

ภาษาอังกฤษ

- Hartmann, C.; Hegel, C.; Boampong, O. and Graspa, E. (2021). Understanding the Immediate Impacts on Waste Pickers, COVID-19 Crisis and the Informal Economy, Policy Insights 7, WIEGO Manchester: WIEGO.

- Luke, R. (2020). “The impact of COVID-2019 on transport in South Africa”. Journal of Transport and Supply Chain Management, 14(1): 1-5.

- LSE and OXFAM. (2018). Multidimensional Inequality Framework: Final Draft. [Online]. Retrieved from https://www.un.org/development/desa/dspd/wp-content/uploads/sites/22/2018/09/Final-Multidimensional-Inequality-Framework-110918.pdf. (Accessed 27 November 2023).

- Hussmanns, R. (2004). Measuring the informal economy: From employment in the informal sector to informal employment. [Online]. Retrieved from https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---dgreports/---integration/documents/publication/wcms_079142.pdf. (Accessed 23 January 2023).

- Turner, S., Langill, J. C., & Nguyen, B. N. (2021). “The utterly unforeseen livelihood shock: COVID‐19 and street vendor coping mechanisms in Hanoi, Chiang Mai and Luang Prabang”. Singapore Journal of Tropical Geography, 42(3): 484-504.

- WIEGO. (2021). COVID-19 Crisis and the Informal Sector: Informal Workers in Bangkok, Thailand, Fact Sheet, WIEGO.

____________. (2022). COVID-19 Crisis and the Informal Economy in Bangkok, Thailand: Lasting Impacts and an Agenda for Recovery, Manchester: WIEGO.

สัมภาษณ์

- นักวิชาการ เพศหญิง คนที่ 1 กลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้าน, 2 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศหญิง คนที่ 2 กลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้าน, 2 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศชาย กลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้าน, 2 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศหญิง คนที่ 1 กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย, 9 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศหญิง คนที่ 2 กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย, 9 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศชาย กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย, 9 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศหญิง กลุ่มพนักงานร้านอาหาร, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศชาย กลุ่มพนักงานนวด, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศหญิง กลุ่มพนักงานร้านอาหาร, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศชาย กลุ่มพนักงานนวด, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศหญิง กลุ่มคนขับแท็กซี่, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศชาย คนที่ 1 กลุ่มคนขับจักรยานยนต์รับจ้าง, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศชาย คนที่ 2 กลุ่มคนขับจักรยานยนต์รับจ้าง, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศชาย กลุ่มคนขับแท็กซี่, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศชาย กลุ่มคนขับจักรยานยนต์รับจ้าง, 16 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศหญิง กลุ่มคนถีบสามล้อ, 23 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักวิชาการ เพศชาย กลุ่มคนถีบสามล้อ, 23 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศชาย กลุ่มคนถีบสามล้อ, 23 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศหญิง คนที่ 1 กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน, 24 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศหญิง คนที่ 2 กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน, 24 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศหญิง คนที่ 3 กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน, 24 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศหญิง กลุ่มคนเก็บและคัดแยกของเก่า, 30 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศชาย คนที่ 1 กลุ่มคนเก็บและคัดแยกของเก่า, 30 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.

- นักพัฒนาและผู้แทนคนทำงาน เพศชาย คนที่ 2 กลุ่มคนเก็บและคัดแยกของเก่า, 30 ก.ค. 2564, สัมภาษณ์.