ปัจจัยกำหนดความสุขในชีวิตเปรียบเทียบระหว่างแรงงานภาคเกษตรกับนอกภาคเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสุขในชีวิตระหว่างแรงงานภาคเกษตรกับแรงงานนอกภาคเกษตร โดยเลือกประชากรตัวอย่างอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ตอบแบบสอบถามครบทุกข้อในตัวแปรที่ใช้ ในการศึกษา จานวนตัวอย่าง 927 ราย สาหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ตัวแบบ การถดถอยเชิงเส้นและใช้ตัวแบบการถดถอยลาดับในการวิเคราะห์ยืนยันผล
ผลการศึกษาด้วยสถิติพรรณนา พบว่า ปัจจัยทางประชากร ประชากรตัวอย่างมีสัดส่วนเพศหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย (ร้อยละ 52.32 เปรียบเทียบกับร้อยละ 47.68) มีอายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี (ร้อยละ 24.60) และแต่งงานหรือ อยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 61.60) ในส่วนของความพอใจสุขภาพกายตน ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่พอใจมาก (ร้อยละ 70.87) ปัจจัยทางสังคม ส่วนใหญ่มีความพึงใจมาก กับความสัมพันธ์ในครอบครัว (ร้อยละ 85.33) ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน/คนรู้จัก (ร้อยละ 82.09) และการมีเวลาว่าง (ร้อยละ 70.66) ในขณะที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประชากรตัวอย่างจบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ากว่า (ร้อยละ 41.86) และทางานอยู่นอกภาคเกษตร (ร้อยละ 62.68) มีรายได้ของครัวเรือนต่ากว่าหรือเท่ากับเส้นความยากจน (ร้อยละ 46.71) สาหรับการกระจายของตัวแปรตาม คือ “ความสุขในชีวิต” โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนจาก 0 ถึง 10 พบว่า ประชากรตัวอย่างให้คะแนนความสุขในปัจจุบัน มากที่สุด 8 คะแนน (ร้อยละ 26.65) 10 คะแนน (ร้อยละ 20.06) และ 7 คะแนน (ร้อยละ 17.37) ตามลาดับ
ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นซึ่งสอดคล้องกับการใช้ตัวแบบ การถดถอยลาดับในการวิเคราะห์เพื่อยืนยันผลพบว่า ประชากรตัวอย่างที่อยู่ ในภาคเกษตรมีความสุขในชีวิตมากกว่ากลุ่มที่ทางานอยู่นอกภาคเกษตร ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติต่อความสุขในชีวิตในทิศทางบวก ได้แก่ สุขภาพกายในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ในครอบครัว เวลาว่าง อาชีพ และรายได้ ของครัวเรือน ในขณะที่อายุส่งผลต่อความสุขในชีวิตในทิศทางลบ คือ เมื่ออายุมากขึ้นความสุขในชีวิตลดลง ก่อนจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยเมื่ออายุมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์