การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน: ด้านคุณธรรม จริยธรรม ของบุคลากรสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อได้แนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์กรภาครัฐ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรีต่อไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 13 คน และใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อหาข้อสรุปและตีความข้อค้นพบ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการวางแผน มีการวางแผนและการขับเคลื่อนโครงการ โดยการวางแผนจำแนกออกเป็น 2 ประเด็น คือ ด้านบทบาทผู้บริหารและความพยายามริเริ่มของหน่วยงานในการสร้างความโปร่งใส การเสริมสร้างองค์กรคุณธรรม พอเพียง วินัย จิตอาสา กตัญญู และการขับเคลื่อนโครงการมี 4 แนวทาง 2) ด้านการปฏิบัติงาน มีแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการเสริมสร้างองค์กร โดยมีวิธีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ บุคลากรในสังกัดมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแผนคุณธรรม คุณธรรมเป้าหมาย 4 ประการ ดำเนินกิจกรรมภายใต้คุณธรรมเป้าหมาย 4 ประการ การให้รางวัล การกล่าวชื่นชม/คำขอบคุณ และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมในด้านคุณธรรม จริยธรรม 3) ด้านการประเมิน มีตัวชี้วัดการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงานและด้านเอกสาร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง
References
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, วิทยาเขตอีสาน.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2564). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พลอย สืบวิเศษ. (2563). จริยธรรมทางการบริหารงานในภาครัฐ. คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มาลัย สาแก้ว. (2565). การส่งเสริมการปฏิบัติงานตามหลักธรรมมาภิบาล ด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(2): 162-174.
วีระ ไชยธรรม. (2562, หน้า 20). การศึกษาสภาพการบริหารตามหลัก
ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2565). การศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตาม ความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี, วิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี. (2565). โครงสร้างจำนวนบุคลากร. [ออนไลน์], สืบค้นจาก https://kanchanaburi.cdd.go.th. (เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566).