ประสบการณ์และความคิดเห็นข้ามเพศต่อกระบวนการเกณฑ์ทหารและการเข้าสู่กระบวนการ ขอใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด

Main Article Content

รณภูมิ สามัคคีคารมย์
อสมาภรณ์ ทิมฉิม

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์และความคิดเห็นของคนข้ามเพศต่อกระบวนการเกณฑ์ทหาร การเข้าสู่กระบวนการขอใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด และการระบุผลการตรวจร่างกายในใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดและแบบ สด.43 โดยใช้วิจัยแบบผสมผสาน คือ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 78 คน และด้วยแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับประสบการณ์ของคนข้ามเพศต่อกระบวนการเกณฑ์ทหาร และการขอใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ร่วมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าคนข้ามเพศต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ความกลัว ความวิตกกังวล ความกังวลใจต่อถ้อยคำที่ถูกระบุในใบรับรองแพทย์ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดและแบบ สด.43 ส่งผลให้ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารและการดำเนินชีวิต รวมทั้งภาครัฐยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ระยะเวลาในการขอ ลำดับการเข้าพบสหวิชาชีพ และคำถามที่ใช้ถามเพื่อวินิจฉัย จึงมีข้อเสนอแนะการวิจัยต่อการดำเนินการของภาครัฐ ควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่จำเป็นและชัดเจน แนวทางการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป็นการปฏิบัติต่อคนข้ามเพศอย่างเท่าเทียมภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฎกระทรวงฉบับที่ 75 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479. (2555). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 129 ตอนที่ 33ก, น. 28-29)

เฉลิมพล ธรรมสุนทร. (2549). ทหารเกณฑ์นะยะ: ผลกระทบภายหลังผ่านการตรวจเลือกทหารและได้รับ สด.43 ระบุโรค. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลินทรา ปรางค์ทอง. (2565). การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มเพศหลากหลายและการคุ้มครองสิทธิเพศหลากหลายในหน่วยงานภาครัฐ: ศึกษากรณีข้าราชการกรมการปกครอง. [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย ผลสะอาด. (2559). สมรรถนะกำลังพลสำรองกองร้อยที่ 1 กองพันทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ค่ายพรหมโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระบบการเกณฑ์ทหารและการรับราชชการทหารโดยสมัครใจ. [สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล และคณะ. (2562). จิตเวชศาสตร์ Psychiatry. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สยามทองกิจ.

นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2567). ความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 71 พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558: ปัญหาของบทบัญญัติและการบังคับใช้. https://www.law.tu.ac.th/tulawinfographic71/#:~:text=วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้.

พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 132 ตอนที่ 18ก, น. 17-27).

รพินท์ภัทร์ ยอดหล่อชัย. (2562). ความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย.

https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/gender-identity

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 134 ตอนที่ 40ก).

วรรณกร ทองกิ่ง และ อัญชลี ศรีกลชาญ. (2566). การศึกษาการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย : กรณีศึกษาสาวประเภทสอง. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2497). พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497. https://dmd.mod.go.th/สาระนาร-(1)/พระราชบัญญัติรับราชการทหาร-พ-ศ-2497/พ-ร-บ-2497-อพเดท.aspx

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2564). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right). สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2552). บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศฉบับภาษาไทย (ICD-10-TM). ม.ป.ท.

สำนักวิชาการสุขภาพจิต. (2562). บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องฉบับที่ 11

โรคจิตเวช ความผิดปกติทางพฤติกรรมหรือความผิดปกติพัฒนาการระบบประสาทและโรคในหมวดอื่นที่เกี่ยวข้อง.

วนิดาการพิมพ์.

อภิลักษณ์ เนียมกล่ำ. (2564). การพัฒนากฎหมายว่าด้วยรูปแบบการเกณฑ์ทหาร THE DEVELOPMENT OF THE LAW ON CONSCRIPTION. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2563). การศึกษาข้อมูลวิชาการด้านการเมืองการปกครองภายในประเทศ: กรณีศึกษาระบบการเกณฑ์ทหารของประเทศไทย. สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการพัฒนานักบริหารระดับสูง.

Human Rights Watch. (2563). ประเทศไทย: คนข้ามเพศถูกปฏิเสธสิทธิอันเท่าเทียม. https://www.hrw.org/th/ news/2021/12/16/380399

Principles, Y. (2007). Yogyakarta Principles on the application of international human rights law in relation to sexual orientation and gender identity. Yogyakarta, Indonesia.