สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
เขตพื้นที่ชายแดนภาคตะวันตกประเทศไทยเป็นดินแดนติดกับประเทศเมียนมา มีช่องทางในการเข้าออกของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างประเทศ จึงมักพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพอย่างไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ชายแดน ผู้วิจัยจึงเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้และต้องการทราบสถานการณ์ยา
และผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดน เพื่อจะนำไปสู่การเฝ้าระวัง การให้ความรู้แก่ประชาชน ตลอดจนพัฒนาระบบสาธารณสุขของพื้นที่เขตชายแดน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี โดยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีการสุ่มแบบตามสะดวก ได้กลุ่มตัวอย่าง 95 คน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีประวัติได้รับยาในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 70 คน ยาที่มีความชุก 3 อันดับแรก ได้แก่ ยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร และยาชุด ตามลำดับ โดยส่วนมากใช้ยาเพื่อรักษาโรค ผู้ที่ใช้ยาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรและรับจ้าง แหล่งจำหน่ายยาส่วนใหญ่
มาจากโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ยาส่วนใหญ่เป็นยาที่มาจากประเทศไทย รองลงมาเป็นประเทศเมียนมา และไม่พบการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ดังนั้นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมบริเวณเขตพื้นที่ชายแดนยังคงเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ลือชัย ศรีเงินยวง, และ วิชิต เปานิล. (2550). ยากับชุมชน มิติทางสังคมวัฒนธรรม. สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.
ณิภัทรา หริตวร, และ ชนินตร์นันทร์ สุขเกษม. (2561). การข้ามพรมแดนเพื่อมารับบริการสุขภาพในประเทศไทยของผู้ป่วยจากประเทศเมียนมาลาวและกัมพูชา. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
เบญจมาศ บุดดาวงศ์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, ขนิษฐา วัลลีพงษ์, ลัทธิพร บุญมานัส, อรวรรณ กาศสมบูรณ์, จันทร์จรีย์ ดอกบัว, จุมพล ประถมนาม, ชาญชัย บุญเชิด, สุภาวดี เปล่งชัย, ไพลิน สารมนต์ ธรรมสอน, และ กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี. (2559). แหล่งต้นทางและเส้นทางการกระจายยาไม่เหมาะสมในชุมชนจาก 8 จังหวัด สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาการกระจายยาไม่เหมาะสมเชิงระบบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 11(ฉบับพิเศษ), 260-268.
พิษณุรักษ์ กันทวี, ภัทรพล มากมี, ทศพล เมืองอิน, และ กนกวรรณ สุวรรณรงค์. (2563). การจัดการระบบสุขภาพชุมชนชายแดนไทย-ลาว: กรณีศึกษาบริเวณชุมชนที่มีจุดผ่อนปรน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. วารสารควบคุมโรค, 46(4), 579-591. https://www.thaidrugwatch.org/download/series/series31.pdf
ไพลิน สาระมนต์, ชิดชนก เรือนก้อน, สุภัสสร แสงพิชัย, และบุลกิต วงศ์หาญกล้า. (2562). การระบาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเขตชายแดน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(2), 307-318.
ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา. (2559). ยาชายแดน อันตรายที่คืบคลานหน้ารั้วบ้านคุณ. ยาวิพากษ์, 8(31). https://www.thaidrugwatch.org/download/series/series31.pdf
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2565, 22 กุมภาพันธ์). ยาต่างชาติทะลักพื้นที่ชายแดน กพย. พบข้อมูลลอบขายในแพลตฟอร์มออนไลน์. HFocus. https://www.hfocus.org/content/2022/02/24522
Kissane, J., & Flaherty, G. (2022). Transportation of therapeutic and controlled drugs across international borders: a descriptive analysis of information available to travellers. International Health, 15, 104-106. https://doi.org/10.1093/inthealth/ihac014.
Martinez, P., Zemore, S., Pinedo, M., Borges, G., Orozco, R., & Cherpitel, C. (2019). Understanding differences in prescription drug misuse between two Texas border communities. Ethnicity & Health, 26, 1028-1044. https://doi.org/10.1080/13557858.2019.1620175.