งานสังคมสงเคราะห์ภายใต้ VUCA World: ข้อท้าทายด้านการจัดการเรียนการสอน การฝึกภาคปฏิบัติ และการสร้างความตระหนักด้านจริยธรรมในการทำงานกับผู้ใช้บริการ ในประเทศไทย

Main Article Content

ทรงศักดิ์ รักพ่วง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานสังคมสงเคราะห์กับข้อท้าทายด้านต่าง ๆ แบ่งการนำเสนอเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ข้อท้าทายในด้านการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน ข้อท้าทายต่อการฝึกภาคปฏิบัติ ข้อท้าทายต่อการสร้างความตระหนักด้านจริยธรรมในการทำงานกับผู้ใช้บริการ และบทสรุปจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับ VUCA World หรือสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนไม่แน่นอน สลับซับซ้อน ไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดความท้าทายทั้งในด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่องค์ความรู้ต้องเท่าทันสถานการณ์ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวหนุนเสริมในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงข้อท้าทายต่อการฝึกภาคปฏิบัติ ที่ต้องปรับรูปแบบให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะของผู้เรียน ตลอดจนข้อท้าทายต่อการสร้างความตระหนักด้านจริยธรรมในการทำงานกับผู้ใช้บริการ ที่ต้องจัดการกับความย้อนแย้งและการขยายขอบเขตด้านจริยธรรมให้กว้างขวางขึ้น และการให้ความสำคัญกับกฎหมาย PDPA อย่างไรก็ตามข้อท้าทายเหล่านี้ไม่ควรเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ควรพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพด้านสังคมสงเคราะห์อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). คู่มือการนิเทศงานสังคมสงเคราะห์. บริษัท ทูเกเตอร์ เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). “โรคใหม่” สร้าง “โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่”: อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2565). ปรัชญาและแนวคิดสังคมสงเคราะห์. บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2560). คู่มือการฝึกภาคปฏิบัติ 1 ประจำปีการศึกษา 2560 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). การส่งเสริมการศึกษาไทยเพื่อรับมือกับโลกยุค VUCA. https://www.trueplookpanya.com/education/content/76134

ปรินดา ตาสี. (2565). รูปแบบและมาตรฐานการจัดการศึกษาสังคมสงเคราะห์ในยุคเทคโนโลยีดิจิตอล. ใน ภุชงค์ เสนานุช (บ.ก.), ทางเลือกและทางรอด: การปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ [เอกสารการสัมมนา]. การสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 68 ปี. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ศศิมา สุขสว่าง. (2560). VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. https://rb.gy/suwsi9

สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์. (2564). มาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์. สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์.

สุขุมา อรุณจิต. (2565). ความปกติใหม่ด้านการศึกษา: ข้อท้าทายและการเรียนออนไลน์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. ใน ภุชงค์ เสนานุช (บ.ก.), ทางเลือกและทางรอด: การปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ [เอกสารการสัมมนา]. การสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนา

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 68 ปี. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

อุดม งามเมืองสกุล. (2565). พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (กฎหมาย PDPA). https://www.up.ac.th/th/NewsRead.aspx?itemID=26662

Bennett, N., & Lemoine, J. (2014). What VUCA really means for you. Harvard business review, 92(1/2), 27.

Bonk, C. J., Lee, M. M., Kou, X., Xu, S., & Sheu, F. R. (2015). Understanding the Self-Directed Online Learning Preferences, Goals, Achievements, and Challenges of MIT Open Course Ware Subscribers. Educational Technology & Society. 18(2), 349-368.

Reamer, F. G. (2013). Social Work in a Digital Age: Ethical and Risk Management Challenges. Social Work. 58(2), 163–172.

Reamer, F. G. (2019). Social Work Education in a Digital World: Technology Standards for Education and Practice. Journal of Social Work Education. 55(3), 420-432.

Wright, G., & Wigmore, I. (2022). Definition VUCA (volatility, uncertainty, complexity and ambiguity). What Is. com.