กระบวนทัศน์การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมกับเด็กยุค Generation Z

Main Article Content

โชคอนันต์ รักษาภักดี
สุมิตร สุวรรณ
พัชราภา ตันติชูเวช

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบมีส่วนร่วมกับเด็กยุค Generation Z ซึ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ ทักษะจากการเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียนมาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย และมีจิตสำนึกสาธารณะที่ดีงาม มีปัญญาในการใช้ทักษะชีวิต การคิด การสื่อสาร การแก้ปัญหา และการใช้เทคโนโลยี สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญ และควรมีการจัดกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ตรงตามความต้องการของผู้เรียนกับเด็กยุค Generation Z โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เริ่มตั้งแต่การคิดออกแบบกิจกรรมการวางแผน การดำเนินกิจกรรม การประเมินผล และการได้ประโยชน์ร่วมกันในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คมสัน พรมเสน. (2562). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนวัดท่าพูด (นครผลประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่.การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). บุ๊ค พอยท์.

จีรนาถ ภูริเศวตกำจร และสุปรีชา ชำนาญพุฒิพร. (2566). การบริหารงานวิชาการด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 24(1), 476-484.

ณัฐนนท์ ค้าขาย. (2562). การบริหารจัดการงานกิจกรรมนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วี.พริ้นท์.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2558). องค์การแห่งความรู้จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. แซทไฟร์ พริ้นติ้ง.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. ข้าวฟ่าง.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม The Participative Management. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(1), 176-183.

ร็อกเกต มีเดีย แล็บ. (12 มกราคม 2567). ผลสำรวจเด็กไทยอยากได้อะไรจากระบบการศึกษา. https://rocketmedialab.co/student-q1-2024/

วรวุฒิ แสงนาก. (2556). การพัฒนารูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือ. วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 15(1), 16-23.

สมยศ นาวีการ. (2554). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567–2568.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lee, N. (2013). The afterlife of total information awareness. In counterterrorism and Cybersecurity: Total Information Awareness. (pp. 51-62). New York Springer.

Palley, W. (2012). GEN Z: Digital in their DNA. New York: Thompson.