นวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์

Main Article Content

ชัชชาย จีระวัฒน์วงศ์
ประเวศ เวชชะ
พูนชัย ยาวิราช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอนวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence era) ด้วยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based participatory research: CBPR) ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้การสนทนากลุ่ม และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ศึกษานิเทศก์ คณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง

ผลการศึกษาพบว่านวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ และแผนที่ยุทธศาสตร์ ซึ่งได้กำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์ ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) ทั้ง 4 ด้าน ภายใต้ทฤษฎีการบริหาร Balance scorecard (BSC) ใน 4 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพกระบวนการภายใน และมิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากร โดยทั้ง 4 มิติ
แสดงถึงความเชื่อมโยงไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัญญาประดิษฐ์ 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560).

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2556. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ประเวศ เวชชะ. (2565). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 8). ห.จ.ก. ปี้ & น้อง.

ประเวศ เวชชะ. (2566). การออกแบบการวิจัย Research Design Five Approaches to Research. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). รู้จักประเภทของกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) : ทฤษฎีการวิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก PESTEL Analysis. https://www.popticles.com/branding/types-of-csr/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.

Bellas, F., Guerreiro-Santalla, S., Naya, M., & Duro, R. J. (2023). AI curriculum for European high schools: An embedded intelligence approach. International Journal of Artificial Intelligence in Education, 33(2), 399-426.

Bouwman, J., & Berens, G. (2024). Proactive Versus Reactive Issues Management Strategies and Stakeholder Support for a Company. Corporate Reputation Review, 1-13.

Cardona, M. A., Rodríguez, R. J., & Ishmael, K. (2023). Artificial intelligence and the future of teaching and learning: Insights and recommendations.

Chat GPT. (2566). การศึกษาไทย 4.0 สู่การเปลี่ยนแปลงในยุคปัญญาประดิษฐ์. https://shorturl.asia/3HdoD

Chesbrough, H. W. (2003). Open innovation: The new imperative for creating and profiting from technology. Boston, MA: Harvard Business School Press.

Covey S. R. (2020). The 7 habits of highly effective people. Simon & Schuster.

Graham, C. R. (2006). Blended learning systems. The handbook of blended learning: Global perspectives, local designs, 1, 3-21.

Johnson, A. M., Jacovina, M. E., Russell, D. G., & Soto, C. M. (2016). Challenges and solutions when using technologies in the classroom. In Adaptive educational technologies for literacy instruction. (pp. 13-30). Routledge.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. Harvard Business School Press.

Ministry of Education New Zealand. (2023). The New Zealand Curriculum: The Learner. Retrieved from Ministry of Education New Zealand. https://www.education.govt.nz/.

Schmidt, A. (2017, December 7). How AI Impacts Education. https://www.forbes.com/sites/theyec/2017/12/27/how-ai-impacts-education/

Siemens, G. (2005). Connectivism: A Learning Theory for the Digital Age. International Journal of Instructional Technology and Distance Learning. 2(1), 3-10.

Thai PBS. (2566). ย้อนวิวัฒนาการในรอบ 75 ปี ปัญญาประดิษฐ์. https://www.thaipbs.or.th/news/content/272538

The Standard. (2019). มนุษย์จะอยู่ตรงไหนเมื่อ AI ฉลาดกว่าเรา มองอนาคตกับ มาร์ติน ฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ Rise of the Robots. https://thestandard.co/martin-ford/

Wagner, T. (2010). The global achievement gap: Why even our best schools don't teach the new survival skills our children need-and what we can do about it. ReadHowYouWant. com.

Waterman Jr, R. H., Peters, T. J., & Phillips, J. R. (1980). Structure is not organization. Business horizons, 23(3), 14-26.