ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของการติดตาม ดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดคดียาบ้า หลังได้รับการปล่อยตัวกลับสู่ชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ทำผิดคดียาบ้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การถูกดำเนินคดีและถูกกักขังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ทำให้มีโอกาสเรียนรู้การกระทำผิดแบบอื่นเพิ่มมากขึ้น และไม่ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กรมคุมประพฤติได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ติดตามดูแล ช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดคดียาบ้าหลังพ้นโทษและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อช่วยให้เด็กและเยาวชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและไม่ทำผิดซ้ำอีก โดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการทำงาน ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดในการติดตามดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดคดียาบ้าหลังพ้นโทษในชุมชน เพื่อนำเสนอข้อมูลให้ผู้รับผิดชอบใช้ประโยชน์ในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลให้การกระทำผิดซ้ำลดลง ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องในตำบลเขื่อนผากและตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลป่าซาง และปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำนวน 56 คน ประกอบด้วย เด็กและเยาวชนที่เคยทำผิดคดียาบ้า 18 คน ผู้ปกครอง 18 คน ผู้นำชุมชน 12 คน และเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ/อาสาสมัครคุมประพฤติ 8 คน ผลการศึกษาพบว่า กรมคุมประพฤติไม่สามารถติดตามดูแล ช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดคดียาบ้าหลังพ้นโทษในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องกำลังคนที่มีน้อยกว่าภาระงานมาก และงบประมาณไม่เพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ได้อย่างทั่วถึง ความช่วยเหลือสงเคราะห์ที่ให้บางรายการไม่ตรงกับความต้องการของเด็กและเยาวชน และครอบครัว แต่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ได้พัฒนากลไกในการทำงานดังกล่าวร่วมกับผู้นำชุมชนและอาสาสมัครคุมประพฤติในตำบลเขื่อนผากและป่าซาง ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Problems, Barriers and Limitation of Continuing Care and Support for Young Methamphetamine (Yaba) Offenders After Released
The number of young methamphetamine (Yaba) offenders has been continuously increased in the past 10 years. Being prosecuted and detained have impacts on mental and physical health of young methamphetamine (Yaba) offenders as well as increasing their chances to learn more about other types of offences and without promoting any behavioral changes. Department of Probation has been designated to take responsibility for following up, inspecting and providing support for young methamphetamine (Yaba) offenders after being released, including offering drug rehabilitation in order to help the youth to change their behaviors and prevent recidivism. The department of Probation is, therefore, required to collaborate with all related sectors. This study aims to examine the working processes, problems, barriers and limitation of the Department in youth methamphetamine defenders. The study will be informed related sectors to improve their work more effectively and to reduce recidivism. In-depth interview was conducted with representatives from related sectors in Khuen-Pak and Bha-Nai sub-districts in Prao district, Chiang Mai province, and Bha-sang and Bhak-bong sub-districts in Bha-sang district, Lampoon province. 18 young methamphetamine offenders, 18 parents, 12 community leaders and 8 probation officers/probation volunteers were selected. The study indicates that the Department of Probation’s duty was ineffectively by man power, budget and mismatch between supporting services and child, youth and their family needs. However, Chiang Mai and Lampoon probation offices have developed the mechanism to operate the duty by collaborating with community leaders and probation volunteer in Khuen-Pak and Bha-sang sub-districts. The collaboration has improved the working process effectively.
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์