อนาคตของความมั่นคงทางอาหารในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทย: ความท้าทายของชุมชน

Main Article Content

ศยามล เจริญรัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้อธิบายสถานการณ์และแนวโน้มความมั่นคงทางอาหารของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในผืนป่าตะวันตกของประเทศไทยท่ามกลางสถานการณ์ที่นำไปสู่ความเปราะบางของชุมชนกะเหรี่ยงด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพที่ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องในชุมชนกะเหรี่ยงที่อยู่ในผืนป่าตะวันตกในจังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 3 ชุมชน การศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดเรื่องความมั่นคงทางอาหาร 4 ด้านคือ ความพอเพียง การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และเสถียรภาพ ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเริ่มต้นจากมุมมองเรื่องความมั่นคงทางอาหารในระดับโลกที่พบว่าเกิดปัญหาความอดอยากหิวโหยในส่วนต่างๆ ของโลก ดังนั้นการลดปัญหาความอดอยากหิวโหยด้วยการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ประชากรของโลกสามารถมีอาหารที่พอเพียง สามารถเข้าถึงอาหารที่เหมาะสม สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้อย่างเต็มที่และต้องมีเสถียรภาพทางอาหารได้ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยที่มีฐานะเป็นประเทศเกษตรกรรมหรือประเทศผู้ผลิตอาหารแล้วแม้จะมีปัญหาบางส่วนแต่ในภาพรวมของประเทศยังไม่ประสบปัญหาความอดอยากในระดับอันตรายเช่นในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก อย่างไรก็ตามสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชนในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกำลังเปลี่ยนไปจากปัจจัยท้าทายต่างๆ ที่เข้ามากระทบให้วิถีชีวิตที่เคยผูกพันกับการผลิตแบบยังชีพและมีความหลากหลายกลายเป็นการผลิตเพื่อการค้าที่พึ่งพากับภายนอกมากขึ้น มีมูลค่าการลงทุนที่สูงขึ้น และราคาผลผลิตผูกติดกับตลาดภายนอก ซึ่งล้วนส่งผลต่อแนวโน้มความมั่นคงทางอาหารที่จะเปราะบางมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผนวกกับประเด็นท้าทายที่สร้างความอ่อนแอในด้านความมั่นคงทางอาหารที่ประกอบด้วยปัญหาด้านทรัพยากร ปัญหาการพึ่งพาจากภายนอก และปัจจัยภายนอกอื่นๆ ในระดับประเทศและโลก ทำให้อนาคตของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงขาดความมั่นคงทางอาหารมากขึ้นในขณะที่นโยบายในระดับประเทศและระดับโลกต่างมุ่งเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการสร้างอาหารที่พอเพียง เข้าถึง ใช้ประโยชน์ได้ และมีเสถียรภาพในองค์รวม แต่ละเลยวิถีการผลิตในชุมชนที่เคยเป็นฐานความมั่นคงทางอาหารในอดีต

 

The Future of Food Security in the Karen Ethnic Group in Thailand: Community Challenges

This study aims to explain the possibility and situation of food security of the Karen ethnic people who inhabit the forest areas in the western part of Thailand amidst fragile and tension-affected situations. In this study, the three Karen villages in Kanchanaburi province located in the western region were examined. The study follows a qualitative research method based on interview and discussion with interested parties, using the theory of “food security” that consists of food availability, food access, food utilization and sustainable food system. Given the fact that hunger and famine are prevalent in all parts of the world, food security is thus essential to ensure sustainable food system, adequate food access and sustainable food utilization. Based on an agricultural society, Thailand has never experienced severe food insecurity compared to other countries. However, the internal and external shocks have led to severe food crisis within the Karen ethnic groups. In this respect, the traditional food production based on self-sufficiency and biodiversity has been shifted into a more market-oriented production rendered with high costs of production and market-driven prices. This shift has led to severe food insecurity within the Karen community. Additionally combined with environmental degradation, high external dependency, and exogenous factors in international and national levels, the Karen ethnic people have been even more prone to severe food crisis. Whereas the policies in national and international levels aim at ensuring adequate food availability, food access, and food utilization, traditional food production which has been used as a base for a sustainable living is completely ignored. 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)