งานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานทำงานบ้าน: กรณีศึกษาประเทศไทย

Main Article Content

ขวัญฤทัย ศิริพัฒนโกศล

บทคัดย่อ

ลูกจ้างทำงานบ้านหลายล้านคนทั่วโลกยังคงไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายแรงงานในหลายประเทศมองว่า งานบ้านไม่ใช่งานหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลิตภาพ และคุณค่าทางเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างทำงานบ้านมีรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ ทำให้ลูกจ้างทำงานบ้านไม่มีสถานะของผู้ใช้แรงงาน แต่เป็นบุคคลที่เข้ามาช่วยดูแลงานบ้าน เด็กและคนชราในบ้านแทนแรงงานทั้งหญิงและชายในครอบครัว

ความสัมพันธ์ในการจ้างงานที่ไม่เป็นทางการ และลักษณะงานบ้านที่ถูกลดคุณค่าทางเศรษฐกิจส่งผลให้ลูกจ้างทำงานบ้านได้รับผลตอบแทนที่ต่ำกว่า งานประเภทอื่นๆ ลูกจ้างทำงานบ้านจำนวนมากยังคงเผชิญกับความเปราะบางจากการถูกละเมิดสิทธิด้านแรงงาน และเผชิญกับการทำงานที่เสี่ยงและอันตราย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้พัฒนาอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานทำงานบ้าน (ฉบับที่ 189) และข้อแนะ (ฉบับที่ 201) กำหนดสิทธิลูกจ้างทำงานบ้านและมาตรการคุ้มครองที่ ตอบสนองต่อสภาพการทำงานของงานบ้านที่มีลักษณะเฉพาะ

อย่างไรก็ดี บทความทางวิชานี้ศึกษาการทำงานของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมให้งานบ้านเป็นงานที่มีคุณค่า ด้วยความเชื่อและความหวัง บทความฉบับนี้จะสามารถสื่อสารให้เห็นถึงประเด็นในการปรับปรุงแก้ไขต่อรัฐบาลไทยต่อการสร้างงานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานบ้าน

 

Decent Work for Domestic Workers: Thailand please makes it real

Millions of domestic workers worldwide are excluded from legal protection because the domestic work sector is economically undervalued. In addition, employment relationship is rather privatised and poorly regulatedby many countries. Underpaid and unprotected nature of this sector is clearly articulated. Many domestic workers are vulnerableto labour abuses and work-related risks and hazards. As a remedy, the ILO’s Domestic Workers Convention (No.189) and its accompanying Recommendation (No.201) are meticulously designed through various consultations amongst tripartite members from every corner of the world. The legal instruments set out minimum international labour standards responding to specificities of the domestic work. But, how are these standards being implemented and enforced at the national level? This paper will examine Thailand’s actions as an example. With optimism and good faith, the paper will voice areas for improvement towards decent work for domestic workers in Thailand.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)