ปัญหาปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรในลุ่มน้ำปราณบุรี

Main Article Content

ราชันย์ พัฒนศักดิ์
อุทิศ กุฎอินทร์
นิพนธ์ ตั้งธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ การประเมินปริมาณความต้องการน้ำเพื่อเกษตรกรรม เมื่อสภาพการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลง ของลุ่มน้ำปราณบุรี ในช่วงปี พ.ศ.2545 และ พ.ศ.2555 โดยใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของกรมพัฒนาที่ดิน และการสำรวจโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 150 ตัวอย่างด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า การใช้ที่ดินในปี พ.ศ.2555 พบว่า การใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 62.30 รองลงมาได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 26.53 พื้นที่อื่นๆร้อยละ 5.44 พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง และ พื้นที่แหล่งน้ำ ร้อยละ 4.27 และ 1.46 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความต้องการน้ำ พบว่า ความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร ในพ.ศ. 2555 มีค่าเท่ากับ 737.6 ล้าน ลบ.ม./ปี ส่วนความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร ในปี พ.ศ. 2545 มีค่าเท่ากับ 740.6 ล้าน ลบ.ม./ปี จากผลการศึกษา พบว่าในปี พ.ศ. 2555 มีความต้องการน้ำลดลงประมาณ 2.97 ล้าน ลบ.ม. หรือ ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2545 ในขณะพื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่ลดลง 55,044.31 ไร่ หรือ ร้อยละ 9.97 อัตราการใช้น้ำลดลงน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรที่ลดลง ในจำนวนดังกล่าวมีทั้งชนิดพืชที่พื้นที่เพาะปลูกลดลง และเพิ่มขึ้น ชนิดที่มีพื้นที่เพาะปลูกลดลง ได้แก่ พืชไร่ สับปะรด และไม้ยืนต้น พื้นที่การเพาะปลูกลดลง รวม 190,439.82 ไร่ ส่วนอ้อย ยางพารา นาข้าว ไม้ผล ปาล์มน้ำมัน และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น รวม 135,395.51 ไร่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรดังกล่าวเนื่องจากอิทธิพลภัยแล้ง ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ เกษตรกรจึงได้ปรับเปลี่ยนพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ เข้ามาแทนที่ อาทิ ซึ่งเป็นพืชที่มีความต้องการน้ำที่สูงกว่าการปลูกพืชไร่ทั่วไปในอดีต ส่งผลให้เกษตรกรต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย อันเนื่องจากความแห้งแล้ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร ภายในลุ่มน้ำปราณบุรี อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ในอนาคต และสร้างทางเลือกในการจัดการน้ำและการจัดการเกษตรในอนาคต

 

Water Demand for Agriculture in Pranburi Watershed

This study aims to study water demand for agricultural area. When the land use changes in Pranburi Watershed between year 2002 and 2012 by using a geographic information system (GIS) data from Land Development Department and the 150 respondent questionnaires. In the year 2012 the majority of the land use is forest (62.30%) agricultural (26.53%) were discriminate (5.44%) bilt-up land (3.42%) and water body (1.46%) respectively, found the water demand for agricultural area in 2012 is 737.6 million cubic meters and in 2002 is 740.6 million cubic meters. The water demand for agricultural was decreased by 2.97 million cubic meters (-0.4%). This result may due to the decreasing of the agricultural area 55,044.31 rai (-9.97%) and the adjustment of crop species for drought. Farmers have been modified other crops such as para rubber, palm oil and sugarcane etc. The plant has a higher water demand crops common in the past. As a result, farmers have risk of crop failures in dry season. Need to land use planning for agriculture with the water supply and make choices to manage water and land use management in the future.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)