ตัวชี้วัดชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

รุ่งนภา พิตรปรีชา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องตัวชี้วัดชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประเมินการวัดผลความมีชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษา และ ศึกษาตัวชี้วัดชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม–กันยายน พ.ศ. 2554 โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก อธิการบดี รองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายมาตรฐานการศึกษา ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิรัชกิจ (การต่างประเทศ) และอาจารย์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความมีชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาในภาครัฐและเอกชนจาก 20 สถาบัน แบ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 10 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชน 10 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยเอเชีย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลรัตนโกสินทร์

ผลการศึกษาพบว่า สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยส่วนใหญ่ ใช้เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยจากสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและ การประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นหลัก แต่บางสถาบันอุดมศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นต้น ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดบางตัวเพิ่มเติมขึ้นเอง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถาบันตน

นอกจากนี้ ตัวชี้วัดความมีชื่อเสียงที่สถาบันอุดมศึกษาไทยส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ และเป็นที่ ต้องการของผู้ประกอบการ และตัวชี้วัดที่มีความสำคัญรองลงมา ได้แก่ คุณภาพหลักสูตรการศึกษา คุณภาพอาจารย์ผู้สอน และคุณภาพงานวิจัย เป็นต้น

 

Indicator for Measuring University Reputation in Thailand

The objective of this research is to investigate the indicators for measuring university reputation in Thailand. The qualitative approach, employed was to conduct in-depth interviews with university presidents, vice presidents and assistants to the president for educational standard, academic affairs and international relations as well as faculty members responsible for university reputation building at 20 public and private universities.

This study shows that most universities in Thailand apply the criteria created by the Bureau of Standards and Evaluation for measuring academic performance. Some of the universities, including Chulalongkorn University, Chiengmai University and Bangkok University developed their own criteria which they then considered in collaboration with the those of the Bureau of Standards and Evaluation for their academic assessment in order to determine the appropriate indicators to measure their performance.

The results also revealed that both public and private universities put precedence on the qualifications of graduates valued by entrepreneurs, which reflected in their employment and salary rates as well as employee satisfaction levels based on their performances. These indicators were then followed by curriculum quality, faculty qualifications and research being conducted.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)