ประชาสังคมระดับโลก: ข้อถกเถียงทางทฤษฎี และความเป็นไปได้ของแนวคิด

Main Article Content

นิธิ เนื่องจำนงค์

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้จะทำการประเมินความเป็นไปได้ของแนวคิดประชาสังคมระดับโลก จากจุดเริ่มของแนวคิด “ประชาสังคม” ถูกมองว่าเป็นประหนึ่งสังคมการเมือง ซึ่งพลเมืองสามารถใช้ชีวิตอย่างมีอารยะภายใน ชุมชนทางการเมืองที่อยู่ภายใต้การปกป้องคุ้มครองโดยรัฐ จากมุมมองดังกล่าวทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าในสังคมระหว่างประเทศเป็นสังคมที่อยู่ ภายใต้ตรรกะของอำนาจแบบ “อนาธิปไตย” ประชาสังคมระดับโลกจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่จากการพิจารณาประชาสังคมระดับโลกผ่านมุมมอง แบบนีโอล๊อก นีโอต๊อกเกอะวิลล์ และนีโอกรัมชี่ บทความชิ้นนี้จะชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของแนวคิดประชาสังคมระดับโลกทั้งในเชิงทฤษฎีและมิติเชิง ประจักษ์ผ่านกลไกหรือตัวแสดงที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการจัดการปกครองระดับโลก บทบาทของเครือข่ายสนับสนุนข้ามชาติหรือองค์กร พัฒนาสังคมระหว่างประเทศ และแรงขับเคลื่อนจากโลกาภิวัตน์จากเบื้องล่าง

 

Global Civil Society: Theoretical Debate and Its’ Possibility

This article examines the possibility of the concept of global civil society. From the very beginning, civil society was considered as political society in which citizens of the politically organized commonwealth could enjoy civil life protected by the state. According to this perspective, it is impossible for global civil society to exist since the international society is anarchic. By viewing global civil society through the neo- Lockean, neo-Tecquevillian and neo-Gramscian perspectives, this article points out to the possibility of the concept of global civil society in both theoretical and empirical dimensions as evidenced various mechanisms or actors such as global governance, transnational advocacy network or international NGOs and the driving force from ‘globalization from below’.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)