จอร์จ กองโดมินาสกับมโนทัศน์ทางมานุษยวิทยา ว่าด้วย “ระยะทางสังคม”
Main Article Content
บทคัดย่อ
จอร์จ กองโดมินาส ไม่เพียงแต่เป็นนักชาติพันธุ์วรรณาที่ทำงานภาคสนามและผลิตผลงานที่มีชื่อเสียงอย่างเรื่องพวกเรากินป่า (Nous avons mangé la forêt or We have eaten the forest) เท่านั้น หากแต่เขายังเป็นนักมานุษยวิทยาผู้สังเคราะห์ข้อมูลจากหลายภาคสนามเพื่อพัฒนาเป็นมโนทัศน์ทางมานุษยวิทยาที่ชื่อว่า ระยะทางสังคม (espace social หรือ social space) มโนทัศน์เรื่องระยะทางสังคมของกองโดมินาสนี้ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาหลายท่านไม่ว่าจะเป็นเอมิล ดูร์ไกม์ (Emile Dirkheim) มาร์เซล โมสส์ (Marcel Mauss) โคลด เลวี่สโตรส (Claude Lévi-Strauss) อองรี เลอแฟรบเวอร์ (Henri Lefèbvre) และอีวาน พรีทชาร์ด (Evans-Pritchard) เป็นต้น กองโดมินาสมีเป้าหมายในการใช้มโนทัศน์เรื่องระยะทางสังคมเพื่อแทนที่คำว่าวัฒนธรรม (culture) เพราะคำว่าระยะ (espace/space) ของกองโดมินาสนั้นหมายถึงทั้งระยะทางและระยะเวลา ในระยะดังกล่าวจะปรากฏเห็นผู้คนเสมอ ผู้คนผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่บนพื้นที่ ปราศจากพื้นที่แล้วไซร้ วัฒนธรรมชองมนุษย์ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่จะพบองค์ประกอบของแต่ละวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี องค์กรทางสังคม ครอบครัว ระบบศาสนา เป็นต้น
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์