ชนบทที่เปลี่ยนผ่านและการปรับตัวในการดำรงชีพของเกษตรกร: กรณีศึกษา “ชุมชนเกษตรกรรม” ที่ จ.นครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
Rural Transformation and Livelihood Adaptations: A Case Study of Villagers in an “Agricultural Community” in Nakhonprathom, Thailand
งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาถึงลักษณะ ทิศทาง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจของชนบทที่ส่งผลต่อการดำรงชีพและการปรับตัวของเกษตรกร ตลอดจนปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กรณีศึกษาบ้านข้างคลอง (ชื่อสมมุติ) จ.นครปฐม ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่อยู่ไม่ไกลจากชานเมืองกรุงเทพมหานครมากนัก งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ทั้งระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณประกอบกัน
ผลการศึกษาพบว่า แม้บ้านข้างคลองดูเหมือนจะเป็นชุมชนเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็งและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ แต่คนส่วนใหญ่ของบ้านข้างคลองกลับดำรงชีพด้วยอาชีพนอกภาคเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและการรับจ้างทั่วไป ทั้งนี้ ผู้ประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตรส่วนใหญ่ต่างมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีนัก เนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหาและความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน โดยการปรับตัวของคนแต่ละกลุ่มจะนำมาซึ่งความมั่นคงในชีวิตได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่ทุนทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีต่างกันมาแต่เดิม ขณะที่นโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐที่เข้ามาในพื้นที่มีบทบาทอย่างมากต่อศักยภาพในการปรับตัว
ผลการวิจัยนำมาสู่ข้อเสนอแนะที่ว่านโยบายและโครงการพัฒนาที่ไม่จำกัดเฉพาะแต่ในด้านการเกษตร ไม่กระจุกตัวอยู่เฉพาะแต่ในคนบางกลุ่ม และที่หันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มแรงงานรับจ้างไร้ที่ดินที่มีฐานะยากจน จะมีส่วนอย่างสำคัญในการเสริมสร้างมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ชีวิตทางเศรษฐกิจของชาวบ้านข้างคลองArticle Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์