ทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ แนวทางการรู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อ และสุขภาพจิตของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

พลอยวไล ทองรักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ แนวทางการรู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อ และสุขภาพจิตของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ ระดับแนวทางการรู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อ และระดับสุขภาพจิตของนิสิต 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อกับสุขภาพจิตของนิสิต และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวทางการรู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อ กับสุขภาพจิตของนิสิต เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จำนวนทั้งสิ้น 504 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลจากการวิจัย พบว่า 1) นิสิตมีระดับทักษะในการรู้เท่าทันสื่อและระดับแนวทาง การรู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่ออยู่ในระดับสูง ในส่วนของสุขภาพจิต นิสิตมีสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลางหรือระดับเดียวกับคนทั่วไป 2) ทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาพจิตของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 3) แนวทางการรู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาพจิตของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย