การปรับตัวของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่ทำงานก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา บริษัท เคเอสซี คอนสตรัคชั่น จำกัด

Main Article Content

กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตดั้งเดิมก่อนเข้ามาทำงานในประเทศไทยและกระบวนการปรับตัวขณะทำงานอยู่ในประเทศไทยของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกเฉพาะแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาของบริษัทเคเอสซี คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่สามารถสื่อสารภาษาไทยและทำงานในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 2 ปี          ผลการศึกษาพบ วิถีชีวิตดั้งเดิมของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาก่อนเข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีอาชีพเสริม เช่น การรับจ้าง และการค้าขาย บางส่วนเข้ามาทำงานที่ประเทศเพื่อนบ้านและมีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านระดับที่ดี ความสัมพันธ์


ภายในครอบครัวมีความใกล้ชิดกัน ทำให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ด้านวัฒนธรรมของประเทศกัมพูชาคล้ายกับประเทศไทย เช่น วันปีใหม่เขมร (Khmer New Year) ตรงกับวันสงกรานต์ของประเทศไทย ด้านความเชื่อ อิงเรื่องไสยศาสตร์ การไหว้ผีบรรพบุรุษ การใส่ตะกรุด การสักตัว และการดูหมอ เป็นต้น


          การปรับตัวของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาเป็นการเรียนรู้เพื่อปรับตัวเริ่มจากการจำ การเรียนรู้และทดลองทำ ควบคู่กับการสอบถามคนรอบข้าง มีการจดบันทึก ด้านสังคมมีการฝึกการสนทนาด้วยภาษาไทยและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ไปควบคู่กัน ด้านวัฒนธรรมไม่พบการปรับตัวที่ชัดเจน เนื่องจากความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการจัดหางาน. (2558ค). สถานการณ์แรงงานต่างด้าว. กรุงเทพฯ: สำนักงานบริหาร
แรงงานต่างด้าว. กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์. (2554). คู่มือการค้า
และการลงทุนราชอาณาจักรกัมพูชา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักข่าวพาณิชย์.
กันต์กนิษฐ์ เกษมพงษ์ทองดี. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล
วิทยาลัยบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
จิตวิทยาการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จุฑาทิพย์ บุญรอด. (2545). การสื่อสารเพื่อการปรับตัวในการทำงานของผู้บริหารญี่ปุ่น:
กรณีศึกษาบริษัท Daiwa Kasei (Thailand) Co., Ltd. และบริษัท Sankyu
Logistics & Engineering Services (Thailand) Co., Ltd. วิทยานิพนธ์วิทยา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
ศาสตร์.
ณรงค์ เส็งประชา. (2544). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธิติวิตร์ สัตยธิติอริย. (2552). การแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรม
ก่อสร้าง โดยใช้แรงงานต่างด้าว. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤมล นิราทร. (2553). การย้ายถิ่นของแรงงานในอาเซียน: กรณีแรงงานไร้ฝีมือใน
ประเทศไทย. บทความนำเสนอในสัมมนาโครงการธรรมศาสตร์-อาเซียน.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บัญญัติ ยงย่วน. (2544). การปรับตัวของผู้ย้ายถิ่นในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิชาประชากรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุศรินทร์ สิทธิรัตนสุนทร. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการปรับตัว
ของคนงานย้ายถิ่น ในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัด
สมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนบูรณาการศาสตร์,
มหาวิทยาลัยมหิดล.
วัชรี ศรีคำ. (2556). การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติเวียดนามในประเทศไทยและ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา
พัฒนบูรณาการศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สวลักษณ์ เชื้อสุวรรณ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่เป็นผลกระทบต่อการลดลงของผลิตภาพ
แรงงาน ในงานก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ
โครงการก่อสร้าง, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อภิชาต สุวรรณรัตน์ และเก็ตถวา บุญปราการ. (2556). ลาวพลัดถิ่น: การกลายเป็น
แรงงานข้ามแดนในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. อัมพกา มาตา. (2555). การศึกษาแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงราย. ศูนย์ข้อมูลภูมิภาค และท้องถิ่น. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อำพา แก้วกำกง. (2551). ทัศนคติด้านสังคมและวัฒนธรรมของชาวกัมพูชาในประเทศ
ไทยที่มีต่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Asian Knowledge Institute. (2012). มอง "เขมร" เตรียมรับเออีซี. Retrieved from https://www.facebook.com/AsianKnowledgeInstitute/posts/387867824613261, 10 มีนาคม 2559.
Asian Migrant Centre. (2005). Migration Needs Issues & Responses in the
Greater Mekong Sub-region: A Resource Book 2nded. Hong Kong:
Clear-Cut Publishing & Printing.

Translated Thai References

Ampha Kaewkamkong. (2008). Social and Cultural Attitudes of Cambodians
in Thailand to Thai-Cambodian Relations. International Journal of East Asian Studies, Thammasat University. [in Thai]
Amphaka Mata. (2012). The Study of Migrant Workers in Chanwat Chiang Rai.
Regional and Local Information Center. Chiang Rai: Chiang Rai Rajabhat
University. [in Thai]
Apichat Suwannarat and Kettawa Boonprakarn. (2013). Lao Diaspora:
Becoming Migrant Workers in Chanwat Songkla. Master of Arts
Program in Human and Social Development, Prince of Songkla
University. [in Thai]
Asian Knowledge Institute. (2012). Looking at “Khmer” to Prepare for AEC. Retrieved from https://www.facebook.com/AsianKnowledgeInstitute
/posts/387867824613261, 10 March 2016. [in Thai]
Banyat Yongyuan. (2001). Adaptation of Migrants in Thailand. Doctor of
Philosophy Program in Demography, Mahidol University. [in Thai]
Busarin Sittirattanasunthorn. (1993). The Relationship between some Factors
and Adaptation of Migrant Workers in the Textile Industry Krathum
Baen District Samut Sakhon. Master of Science Program (Public Health)
in Integrated Development Science, Mahidol University. [in Thai]

Department of Employment. (2015c). Foreign Labor Situation. Bangkok: Office
of Work Permit. Department of International Trade Promotion, Ministry
of Commerce (2011). Trade Guide and Investment in the Kingdom
of Cambodia. Bangkok: Commercial News Publishing House. [in Thai]
Juthathip Bunrod. (2002). Communication for Adaptation in the Work of
Japanese Executives: Case Study of Daiwa Kasei (Thailand) Co., Ltd. And Sankyu Logistics & Engineering Services (Thailand) Co., Ltd.
Master of Arts in Human Resource Development, National Institute of
Development Administration. [in Thai]
Kankanit Kasemphongthongdee. (2003). Factors Affecting on Adjustment of
Nursing Students of Boromrajonani College of Nursing in Chanwat
Nonthaburi. Master of Arts Program in Educational Psychology,
Srinakharinwirot University. [in Thai]
Narong Sengpracha. (2001). Thai Ways of Life. Bangkok: Odean Stroe. [in Thai]
Narumon Nirathron. (2010). ASEAN Worker Migration: Case Study of Unskilled
Workers in Thailand. Articles presented at the Thammasat-ASEAN
Project. Bangkok. Thammasat University Press. [in Thai]
Savaluk Chuasuwan. (2010). The Study of the Factors Affecting Lower Labor
Productivity in Construction. Master of Science Program in
Construction Project Management, Silpakorn University. [in Thai]
Thitiwit Sattayathitiariyai. (2009). Solving the Scarcity of Thai Workers in the
Industrial Sector Construction by Migrant Workers. Master of
Arts Program in Business Economics, Thammasat University. [in Thai]
Watcharee Srikham. (2013). Adjustment of Vietnamese Migrants’ Workers in
Thailand and Lao People’s Democratic Republic. Doctor of
Philosophy Program in Integrated Development Science, Ubon
Ratchathani University. [in Thai]