ผลการให้คำปรึกษากลุ่มด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่องต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว

Main Article Content

นวลพรรณ ขันทะสีมา
อาจารย์ ดร.วรางคณา รัชตะวรรณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษากลุ่มด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่องต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 12 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่อง ที่พัฒนาปรับปรุงมาจากโปรแกรม “รถไฟของชีวิต” ของ Chow EO (2015) กับกลุ่มทดลอง จำนวน 7 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที 2) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของโรเซนเบิร์ก ฉบับภาษาไทย โดยวัดคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะหลังการติดตามผล                 


ผลการศึกษา พบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มทดลอง หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่อง สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มด้วยทฤษฎีการเล่าเรื่องสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อาจารย์ ดร.วรางคณา รัชตะวรรณ, ภาควิชาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่ง อาจารย์ประจำภาควิชาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ สังกัดภาควิชาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล   วุฒิการศึกษา ปริญญาเอก จิตวิทยาการให้คำปรึกษา (กศ.ด.)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2554 ปริญญาโท การแนะแนวและให้คำปรึกษา (ศษ.ม.)มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2545 ปริญญาตรี การประถมศึกษา (ศษ.บ.)มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2543   สาขาวิชาที่สนใจ
  • การให้คำปรึกษาครอบครัว (Family Counselling)
  • การให้คำปรึกษาเด็ก และวัยรุ่น (Child and Youth Counselling)
  • การให้คำปรึกษารายบุคคล และการให้คำปรึกษากลุ่ม (Individual and Group Counselling)
  • การแนะแนวในโรงเรียน (School Guidance Counselling)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, ภาควิชาหูหนวกศึกษา วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่ง - รองคณบดีฝ่ายบริหาร ภาควิชาหูหนวกศึกษา - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาหูหนวกศึกษา วุฒิการศึกษา ปริญญาเอก ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน) ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน) ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตรประยุกต์) สาขาวิชาที่สนใจ
  • การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ

References

1. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2561). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555, ออนไลน์. สืบค้นจาก http://law.m-society.go.th/law2016/law/view/597.
3. คงไชย สันตะวงศ์ และ รัตนะ ปัญญาภา. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการพัฒนาความตระหนักรู้ในคุณค่าแห่งตนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดอำนาจเจริญโดยใช้หลักสัมมาทิฏฐิ.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(2) , 74-88.
4. ฉันทนา แรงสิงห์. (2556). ผลของโปรแกรมกลุ่มให้คำปรึกษาตามแนวคิดพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรมต่อระดับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(2), 29-41.
5. ฐิชารัศม์ พยอมยงค์ และ ธีรวรรณ ธีระพงษ์. (2555). ผลของการให้คำปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางตาม แนวคิดของโรเจอรส์ที่มีต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กด้อยโอกาส.มนุษยศาสตร์สาร, 13(4), 201-210.
6. ทินกร วงศ์ปการันย์ และ ณหทัย วงศ์ปการันย์. (2554). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์ก: การศึกษาในนักศึกษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(1), 59-71.
7. ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล, สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์, จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร, ประกายทิพย์ วงศ์หอม, โฉมสุดา สาระปัญญา, และชรีน่า ปะดุกา. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.
8. ทัศวลัย ทองเนื้อแปด. (2559). ผลของการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรึกษาแบบภวนิยมต่อการเห็นคุณค่าแห่งตนของผู้ต้องขังหญิงคดียาเสพติดในทัณฑสถานหญิงกลางกรุงเทพมหานคร.วารสารกระบวนการยุติธรรม, 9(1), 69-82.
9. ธานีรัตน์ ผ่องแผ้ว. (2558). คุณภาพชีวิตคนพิการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช : ปัจจัยที่มีผลและแนวทางการพัฒนา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
10. ปิยะพิมพ์ กิติสุธาธรรม. (2554). การยอมรับและการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครอบครัว. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
11. ปารเมศ เสนาสนะ และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมฝึกคิดเชิงบวกต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ติดยาเสพติดหญิงในเรือนจำ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(2), 189-199.
12. พรธิดา วิเศษศิลปานนท์ และคณะ. (2556). การสำรวจมาตรฐานคุณภาพชีวิตคนพิการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(1), 92-104.
13. พรพิมล พรแก้ว. (2551). ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว: กรณีศึกษาในคนพิการวันทำงานที่กำลังเข้ารับการฝึกอาชีพ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต(วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ), มหาวิทยาลัยมหิดล).
14. ศมนรักษ์ สุวรรณทรัพย์ และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหวในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(3), 20-35.
15. ศศินันท์ วาสิน และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(2), 84-96.
16. สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2560). รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษร กราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์.
17. อรุณทิพย์ หงส์พิทักษ์ และ กาญจนา ไชยพันธุ์. (2558). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น.วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,9(1), 211-221.
18. AIPC. (2010). Narrative Therapy, Online. Retrieved from https://www.aipc.net.au/articles/narrative-therapy/.
19. Branden, N. (1987). How to raise your self-esteem. New York, NY: Bantam.
20. Branden, N. (1994). The six pillars of self-esteem. New York, NY: Bantam.
21. Chalk, H. M. (2016). Disability self-categorization in emerging adults: Relationship with self-esteem, perceived esteem, mindfulness, and markers of adulthood. Emerging Adulthood, 4(3), 200–206.
22. Chow EO. (2015). Narrative therapy an evaluated intervention to improve stroke survivors’ social and emotional adaptation. Clinical Rehabilitation, 29(4), 315–326.
23. Coopersmith, S. (1967). The antecedents of self-esteem. San Francisco, CA: Freeman.
24. Dunn, D. S., & Burcaw, S. (2013). Disability identity: Exploring narrative accounts of disability. Rehabilitation Psychology, 58(2), 148–157.
25. Epstein, S. (1985). The implications of cognitive-experiential self-theory for research in social psychology and personality. Journal for the Theory of Social Behavior, 15, 283–309.
26. Frey, D., & Carlock, C. J. (1989). Enhancing self-esteem (2nd Ed.). Muncie, IN: Accelerated Development.
27. German, M. (2013). Developing our cultural strengths: Using the ‘Tree of Life’ strength-based, narrative therapy intervention in schools, to enhance self-esteem, cultural understanding and to challenge racism. Educational & Child Psychology, 30(4), 75-99.
28. Goldenberg. (2004). Family Theory an Overview. Thomson Learning Academic resource Centre, 343-355.
29. Harter, S. (1999). The construction of the self: A developmental perspective. New York, NY: Guilford.
30. James, W. (1983). The principles of psychology. Cambridge, MA: Harvard University.
31. L. Jafari, K. Hashemian, A. Zadeh Mohammadi. (2015).The Impact of Narrative Therapy with Creative Drama On Orphan Children Self-Esteem. European Psychiatry, 30(1), 1649.
32. Linda Wheeler Cardillo. (2010). Empowering Narratives: Making Sense of the Experience of Growing Up with Chronic Illness or Disability. Western Journal of Communication, 74(5), 525-546.
33. Morgan, A. (2000). What is narrative therapy? An easy-to-read introduction. Adelaide, South Australia, AU: Dulwich Centre Publications.
34. Pope, A., McHale, S., & Craighead, E. (1988). Self-esteem enhancement with children and adolescents. New York, NY: Pergamum Press.
35. Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton, NJ: Princeton University Press.
36. Zadeh-Mohammadi A, Abedi A, Moradi-Panah F. (2013). Group Narrative Therapy Effect on Self-esteem and Self-efficacy of Male Orphan Adolescents. Practice in Clinical Psychology, 1(1), 55-60.