การขัดเกลาทางสังคมของคุณลักษณะผู้หญิงในบริบทของล้านนา

Main Article Content

ภักดีกุล รัตนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้หญิงภายใต้บริบทของอาณาจักรล้านนา ทั้งนี้การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อเปิดมิติทางความคิดและโลกทัศน์เกี่ยวกับการศึกษาผู้หญิงล้านนา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเอกสาร โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือทบทวนเอกสาร ตำราวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำเสนอข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบพรรณานา ผลการวิจัยพบว่า สังคมล้านนาในบริบทยุคจารีตมีผลอย่างสำคัญต่อการสร้างการขัดเกลาทางสังคมซึ่งเป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้คนเรียนรู้และซึมซับแบบแผนและรับเอาค่านิยมทางสังคมมาหล่อหลอมเป็นบุคลิกลักษณะของตนและเรียนรู้ในการปฏิบัติตนตามบทบาทและภาระหน้าที่ทางสังคม โดยคุณลักษณะของผู้หญิงล้านนาที่ถูกขัดเกลาทางสังคมจากการสั่งสอน บ่มเพาะและปลูกฝังตั้งแต่เล็กจนโตผ่านตัวแทนทางสังคมคือ สถาบันครอบครัว สถาบันทางสังคม เช่น ศาสนา จารีตประเพณี รวมถึงรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตที่สัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ นำไปสู่การแสดงบทบาท หน้าที่ และพฤติกรรมทางสังคมของผู้หญิงล้านนาในทุกช่วงวัย คือ คุณลักษณะพรหมของบุตรในฐานะมารดา คุณลักษณะซื่อสัตย์ เคารพและเชื่อฟังสามี และแม่เจ้าเรือนในฐานะภรรยา และคุณลักษณะขยันหมั่นเพียรและรักนวลสงวนตัวในฐานะหญิงสาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2550). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2545). พ่อค้าวัวต่าง: ผู้บุกเบิกการค้าขายในหมู่บ้านภาคเหนือของประเทศไทย (พ.ศ.2398-2503). เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น.

ถิ่น รัติกนก (ปริวรรต). (2540). กฎหมายโคสาราษฎร์. เชียงใหม่: วิทยาลัยครูเชียงใหม่.

ประเสริฐ ณ นคร. (2524). มังรายศาสตร์ ฉบับนอตอง. เชียงใหม่: วิทยาลัยครูเชียงใหม่.

ประเสริฐ ณ นคร. (2513). มังรายศาสตร์ ฉบับวัดเสาไห้. [ม.ป.ท.]: [ม.ป.พ.]

ฝนทอง พันธุ์ต่วน. (2541). กระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจแปลงเพศของสาวประเภทสอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

พรรณนิภา อภิญชพงศ์. (2535). เจ้าไพร่กับความเปลี่ยนแปลงในสังคมล้านนาระหว่าง พ.ศ.2427-2476. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

พรรณเพ็ญ เครือไทย. (2552). เพลงกล่อมเด็กล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่ : สุเทพการพิมพ์.

ภักดีกุล รัตนา. (2562). การศึกษา “คุณลักษณะ” ของผู้หญิงล้านนาตามแนวคิดคุณลักษณศึกษา. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 14(2), 1-15.

ภักดีกุล รัตนา. (2543). ภาพลักษณ์ “ผู้หญิงเหนือ” ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 26. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

มณี พยอมยงค์. (2522). คติสอนใจล้านนาไทย. เชียงใหม่: ธารทองการพิมพ์.

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดหมื่นเงินกอง. (2518). เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนปัญญาเถระ, พระ. (ม.ป.ป.). ชินกาลมาลีปกรณ์. แปลโดย แสง มนวิทูร. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วงศ์ลักก์ ณ เชียงใหม่, (บก). (2547). ขัตติยนารีศรีล้านนา. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรัสวดี อ๋องสกุล, (2561). ประวัติศาสตร์ล้านนา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สมร เจนจิร. (2547). ภาษิตล้านนา. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2520). การวิเคราะห์สังคมเชียงใหม่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นตามต้นฉบับใบลานในภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย).

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและลมูล จันทน์หอม. (2528). วิเคราะห์กฎหมายล้านนาโบราณ ประชุมกฎหมายครอบครัว: รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: วิทยาลัยครูเชียงใหม่.

อานันท์ กาญจนพันธุ์, อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและศรีธน คำแปง (ปริวรรต). (2520). กฎหมายวัดกาสา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bussey, K. and Bandura, A. (1999). Social Cognitive Theory of Gender Development and Differentiation. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/12741492_Social_Cognitive_Theory_of_Gender_Development_and_Differentiation.

Bass, B.M. (1990). From transactional to transformational leadership : learning to share the vision. Organizational Dynamics, 18, 19-31.

Berkowitz, M.W. (2005). What works in character education: a research-driven guide for educators?. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/251977043_What_Works_In_Character_Education#fullTextFileContent.

Boyatzis, R. E. (1982). The competent manager : a model for effective performance. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/247813294_The_Competent_Manager_A_Model_For_Effective_Performance.

Carr, E.H. (2017). What is history?. Palgrave: Macmillan.

Cohen, P. T. and Wijeyewardene, G. (1984). Introduction to spirit cults and the position of women in Northern Thailand. Mankind, 14(4), 249-262.

Dodd, W. C. (1996). The Tai Race: Elder Brother of the Chinese. Bangkok: White Lotus.

Population and state in Lan Na prior to the mid-sixteenth century. (2005). Journal of the Siam Society, 93, 1-68.

Lickona, T. (1991). Educating for character : how our schools can teach respect and responsibility. New York: Bantam Books.

Lindsey, L. L. (2015). Gender roles: A sociological perspective. (6th ed.). New York: Routledge.

Little, W. (2016). Introduction to sociology, 2nd Canadian edition. BC Open Textbook Project. Retrieved from https://opentextbc.ca/introductiontosociology/.

McGilvary, D. (1912). A half century among the Siamese and the Lao: an autobiography. New York: Fleming H.Revell.

Mercer, B. E. (1958). The study of society. New York : Harcourt, Brace and Company.

Merton, R. K. (1968) Social theory and social structure. New York: The Free Press.

Nucci, L., and Narvaez, D. (2008). Handbook on moral and character education. New York: Routledge.

Oswald, D. L. (2012). Gender Stereotypes and Women's Reports of Liking and Ability in Traditionally Masculine and Feminine Occupations. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/247643734_Gender_Stereotypes_and_Women's_Reports_of_Liking_and_Ability_in_Traditionally_Masculine_and_Feminine_Occupations.

Parsons, T. (1959). The social structure of the family. in Anshen R N (ed.), The Family: its Functions and Destiny. New York: Harper and Row.

Popenoe, D. (1991). Sociology. New Jersey: Prentice-Hall.

Ratana, P. (2009). Social Strategies in Creating Roles for Women in Lan Na and Lan Sang from the Thirteenth to the Nineteenth Centuries. (Thesis of Doctoral dissertation, University of Muenster).

The Thai National Team. (translated). (1987). Traibhumikatha : the story of the three planes of existence. Bangkok: Amarin.

Vivekananda, S. (2013). Education for character. Hyderabad: Ramakrishna Math.

Webster's ninth new collegiate dictionary. (1991). Massachusetts: Merriam-Webster.

Wyatt, D. K. and Wichienkeeo, A. (1998). The Chiang Mai chronicle. Chiang Mai: Silkworm Books.