แนวทางการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการขยะจากผู้สูงอายุสู่เด็ก

Main Article Content

วิสาขา ภู่จินดา
นิชนันท์ ปฏิทัศน์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการขยะจากผู้สูงอายุสู่เด็ก เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการขยะจากผู้สูงอายุสู่เด็ก เพื่อเสนอแนวทางการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการขยะจากผู้สูงอายุสู่เด็ก เก็บข้อมูลผ่านการจัดกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบการดำเนินการในการวิเคราะห์ศักยภาพ ข้อจำกัดและบทบาทการมีส่วนร่วมและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเด็กในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเรียนรู้ และถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการขยะจากผู้สูงอายุสู่เด็กอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการขยะจากผู้สูงอายุสู่เด็ก ประกอบด้วย การสร้างความมั่นใจให้ผู้สูงอายุ ความชื่นชอบส่วนบุคคลในการร่วมทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ การสร้างแรงจูงใจหรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยแนวทางในการถ่ายทอดความรู้ คือ การสอดแทรกกิจกรรมที่มีความน่าสนใจ หรือกิจกรรมที่ผู้สูงอายุ และเด็กชื่นชอบเพื่อเป็นแรงจูงใจ ในการสร้างความร่วมมือและเพื่อการสนับสนุนศักยภาพในเรียนรู้ และการถ่ายทอดความรู้โดยผู้สูงอายุสู่เด็ก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2562. กรุงเทพฯ: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.

จินตนา เกียรติเจริญสุข. (2557). ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 อำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัย อย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการ, 38(1), 5-28.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2558). การทบทวนกฎหมายและนโยบายด้านผู้สูงอายุสู่การจัดการสุขภาพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 1(2), 149-163.

ธีรนันท์ วรรณศิริและสมบัติ ประทักษ์กุลวงศา. (2559). การพัฒนาสัมพันธภาพวัยรุ่นและผู้สูงอายุในครอบครัวของชุมชน โพรงมะเดื่อ. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 8(1), 101-115.

พัสรินณ์ พันธุ์แน่น. (2558). การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการจัดการขยะ : บ้านมั่นคงชุมชนบางบัว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(2), 50-73.

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). การเปลี่ยนแปลงของประชากรไทย และความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย. สืบค้นจาก http://www.cps.chula.ac.th/newcps/upload/news/319/file_5_1013.pdf

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2561). คู่มือผู้สูงอายุแปรรูปขยะชุมชนสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). รายงานประจำปี 2552. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Books/351/รายงานประจำปี+2552+สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ+%28สสส.%29.html.

สุธีรา บัวทอง, สุทธิพงศ์ สภาพอัตถ์และศิริณา จิตต์จรัส. (2557). ผู้สูงอายุกับเหตุผลในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้และสิ่งที่ต้องการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1,2), 6-17.

Arnstein, Sherry R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Institute of Planners, 35(4), 216-224.