ความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นอกเห็นใจลูก สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก ความคาดหวังในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่อำนาจ กับเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่

Main Article Content

ลภัสรดา ซื่อตรง
กฤษิกร ธนัทรัชต์
กิตติชัย ประกิระสา
ปภันนันท์ มีสีห์ไชย
ศุภรา ปริญานุภาพ
ดารวันต์ รักสัตย์
ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่า ตัวแปรความเห็นอกเห็นใจลูก สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก ความคาดหวังในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่อำนาจ มีอิทธิพลในการทำนายต่อเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อแม่ที่มีลูกกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2563 และลูกมีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี จำนวน 154 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเป็นขั้น (Stepwise)


ผลการวิจัย พบว่า ความเห็นอกเห็นใจลูก แรงจูงใจใฝ่อำนาจ  สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก และความคาดหวังในการเรียน มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความเห็นอกเห็นใจลูก และสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ ในขณะที่ความคาดหวังในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่อำนาจ มีความสัมพันธ์ทางลบกับเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ นอกจากนี้ ความเห็นอกเห็นใจ แรงจูงใจใฝ่อำนาจ และความคาดหวังในการเรียน สามารถร่วมกันทำนายเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ ได้ร้อยละ 30.5 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายเจตคติต่อการให้อิสระลูกในการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาของพ่อแม่ได้ดีที่สุด คือ ความเห็นอกเห็นใจลูก (β = .033)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). รายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/report/suicide/age.asp

กุลาวรรณ วิทยาวงศรุจิ. (2526). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับการปรับตัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

จิตราภรณ์ ทองกวด. (2555). การศึกษาและพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

จิฬาวัจน์ เลิกนอก. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะไม่สูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นในชุมชนเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล) สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/295401.

ดวงเนตร เชยประเสริฐ. (2551). การศึกษาเจตคติของผู้ปกครองต่อการเรียนรู้สองภาษาของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ดุลยา จิตตะยโสธร. (2552). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู: แนวคิดของ Diana Baumrind (Diana Baumrind’s Parenting Styles). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 173-181. สืบค้นจาก http://utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/ดุลยา%20จิตตะยโศธร.pdf.

นิยดา พงศ์พาชำนาญเวช. (2535). ความวิตกกังวลในการศึกษาต่อและการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th.eu1.proxy.openathens.net/swuthesis/Gui_Cou_Psy/Niyada_P.pdf.

เบญจมา พูนสิทธิศักดิ์. (2548). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับแรงจูงใจใฝ่อำนาจของผู้บริหารระดับต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ปัณณ์วิชญ์ จาตุกัญญาประทีป. (2558). การพัฒนาเครื่องมือวัดการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองตามการรับรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามแนวคิดการอบรมเลี้ยงดูของ Schaefer. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ผกาวรรณ นันทวิชติ. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาโดยครอบครัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swudis/Ed_Adm/Pakawan_N.pdf.

พิกุล ทรัพย์โชค. (2550). การศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). สืบค้นจาก http://ils.swu.ac.th:8991/exlibris/aleph/a22_1/apache_media/DVPR2ENE2TN6M6X99RFSMSKBJ91BE7.pdf.

วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์. (2559). พฤติกรรมของผู้ปก ครองในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียนโรงเรียนสาธิต ในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร) สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1021/1/55256208%20วัลลภา%20วงศ์ศักดิรินทร์.pdf.

ศรัณย์ รื่นณรงค์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). สืบค้นจาก http://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/940/1/Sarun_R.pdf.

สุกัญญา ทารส. (2562). พฤติกรรมของผู้ปก ครองในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียนโรงเรียนสาธิต ในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/458/1/57010584022.pdf.

สกัณฑ์ วิแก้วมรกต. (2548). ความคาดหวังในการเรียนและสัมพันธภาพในครอบครัวกับความวิตกกังวลในการเรียนและการเผชิญปัญหาของนิสิตชั้นปี2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th.eu1.proxy.openathens.net/swuthesis/Dev_Psy/Sakan_W.pdf.

อดิศักดิ์ มิดดี้, ณัฐพล ผู้เทียมใจและไสว ศิริทองถาวร. (2563). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ใน การประชุมวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 3. (น. 493-496). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สืบค้นจาก https://fit.ssru.ac.th/useruploads/files/20200629/c27a50b3ea9ffcea2f36b8aaf11a2f75957d8714.pdf.

อรนุช อุดมสมฤดี. (2550). สัมพันธภาพในครอบครัวกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). สืบค้นจาก http://ils.swu.ac.th:8991/exlibris/aleph/a22_1/apache_media/J2RXKRJAM1TLFMX895197LSF5.pdf.

Allport, G. W. (1968). Reading in attitude theory and measurement. New York: John Welley & Sons.

Busch H. (2018). Power Motivation. In J. Heckhausen & H. Heckhausen (Eds.), Motivation and Action. (pp. 335-368). Cham: Springer International.

Clore, G., & Jeffery, K. (1972). Emotional role playing, Attitude change, and Attraction toward a diasbleed person. Journal of Personality and Social Psychology, 23(1), 110-111. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/18905171_Emotional_role_playing_attitude_change_and_attraction_toward_a_disabled_person.

Creswell, C., O’ Conner, T.G. & Brewin, C.R. (2018). The impact of parents’ expectations on parenting behaviour: An experimental investigation. Behavioural and Cognitive Psychotherapy, 36(4), 483-490.

Felix, D. (2012). An IRT Analysis of Motive Questionnaires: The Unified Motive Scales. Journal of Research in Personality, 92, 40-44. Retrieved from https://www.psy.lmu.de/allg2/download/schoenbrodt/pub/ums_jrp.pdf.

Ginott, Haim G. (1969). Between parent and child. NewYork: Avon Books.

Hair, J.F.J., Anderson, R.E., Tatham, R.L., Black, W.C., (1998). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Prentice Hall.

Jolliffe, D., & Farrington, D.P. (2006). Development and validation of the Basic Empathy Scale. Journal of Adolescence, 29(4), 589–611.

Jones, E. (1997). Empathy and Attitude: Can Feeling for Members of a Stigmatized Group Improve Feelings Toward the Group. Journal of Personality and Social Psychology, 72(1), 116-117. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/14200952Empathy_and_Attitudes_Can_Feeling_for_a_Member_of_a_Stigmatized_Group_Improve_Feelings_Toward_the_Group.

Leung, Janet T.Y. & Shek, Daniel T.L. (2011). Validation of the Chinese Parental Expectation on Child ‘s Future Scale. International Journal on Disability and Human Development, 10(3), 267-274.

Ma, Y., Siu, A. & Tse, W.S. (2018). The Role of High Parental Expectations in Adolescents’ Academic Performance and Depression in Hong Kong. Journal of Family Issues, 39(9), 2505-2522.

McClelland, D. C. (1987). Human motivation. New York: Cambridge University Press.