การส่งเสริมนโยบายกัญชาในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษานโยบายการส่งเสริมการเพาะปลูกและการควบคุมการใช้กัญชา 2) ศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์จากกัญชาที่ส่งผลต่อนโยบายการส่งเสริมกัญชาให้ทันสมัย และ 3) ศึกษาแนวทางการนำนโยบายการส่งเสริมกัญชาไปปฏิบัติ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเจาะจง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการสนทนาผ่านสมาร์ทโฟน วิจัยเอกสาร และระบบสารสนเทศ โดยกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหารหรือผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขที่รับผิดชอบนโยบายกัญชา ได้แก่ ผู้บริหารหรือผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กลุ่มที่ 2 จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหารหรือผู้แทนกรมการแพทย์ทางเลือก ผู้บริหารหรือผู้แทนกองควบคุมวัตถุเสพติด และกลุ่มที่ 3 องค์การเภสัชกรรม สมาคมโรงพยาบาลเอกชน กรมแพทย์แผนประเทศไทย จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญในครั้งนี้ทั้งหมด 25 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการส่งเสริมการเพาะปลูกและการใช้กัญชา ต้องมีความชัดเจน เด็ดขาด และครอบคลุม บูรณาการเพื่อดำเนินการในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผลิตภัณฑ์กัญชาต้องมาจากสถานที่ปลูกที่ได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น 2) รูปแบบการใช้ประโยชน์จากกัญชาที่ส่งผลต่อนโยบายการส่งเสริมกัญชาให้ทันสมัย ผลิตภัณฑ์ และคุณสมบัติของกัญชามีประโยชน์มากมายทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในการรักษาโรค และอนาคตจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาให้ทันสมัยและง่ายต่อการใช้งาน และ 3) แนวทางนโยบายการปลดล็อคกัญชาและนำไปสู่การลงทุนของการเพาะปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์ และการผลักดันกัญชาให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถให้ประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน ควรกำหนดวิธีการและแนวทางการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายเพื่อควบคุม และป้องกันอย่างยั่งยืนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการแพทย์. (2561). สารสกัดกัญชารักษาโรคได้. สืบค้นจาก www.dms.moph.go.th/dmsweb/prnews/prnews24012019040115.pdf.
คณะกรรมการขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์เสรี. สืบค้นจาก https://www.medcannabis.go.th/blog/สายพันธุ์กัญชา.
บีบีซี. (2562). กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจประเทศไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็นรมว. สาธารณสุข.ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471.
ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์. (2562). กัญชากับการรักษาโรค. กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัฒณปกรณ์ ดอนตุ้มไพร, พิพัฒน์ พันมา, มัณฑนา หน่อแก้วและโชติ บดีรัฐ. (2564). ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4856 .
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522. สืบค้นจาก https://www.fda.moph.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.fda.moph.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2563). สหประชาชาติไม่ได้ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด. สืบค้นจาก https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/news/detail/50/1936.
สุนทร พุทธศรีจารุ. (2562). การพัฒนามาตรการทางกฎหมายควบคุมการใช้กัญชาทางการแพทย์และการนำไปสู่การปฏิบัติ. สืบค้นจาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=665.
Alsherbiny MA Li CG. (2019). Medicinal Cannabis-Potential drug interactions. Medicines, 6(3).
Berelson. (1952). Content Analysis in Communication Research. Michigan: Free Press.
Siverman. (2005). Doing qualitative Research Thousand Oaks. California: Sage.
Sofía Aguilar Víctor Gutiérrez Lisa Sánchez Marie Nougier. (2018). Medicinal cannabis policies and practices around the world. Retrieved From http://businessworld.in/article/A-New-Era-Of-Treatment-Medicinal-Cannabis-In-India/14-12-2017-134662/.
United Nations. (2020). Chapter Vi Narcotic Drugs and Psychotropic Substances. Retrieved From https://treaties.un.org/Pages/ViewDetails.aspx?src=TREATY&mtdsg_no=VI17&chapter=6&clang=_en.