ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับผู้พ้นโทษของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วันชนะ เปลื้องวัลย์
วิเชียร ปรีชาธรรมวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงระดับการยอมรับผู้พ้นโทษของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับผู้พ้นโทษของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม (SE) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย โดยทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson Correlation โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า การยอมรับของผู้ประกอบการต่อผู้พ้นโทษในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยหากจำแนกเป็นด้านพบว่า การยอมรับในด้านประวัติอาชญากรรมของผู้ประกอบการที่มีต่อผู้พ้นโทษ ประกอบด้วย การมีบันทึกประวัติอาชญากรรมในภาครัฐ ฐานความผิด ระยะเวลาที่ถูกจำคุก ความถี่ของการกระทำผิดชั้นนักโทษ และประวัติการถูกคุมประพฤติการยอมรับอยู่ในระดับน้อย การยอมรับในด้านกระบวนการแก้ไข ฟื้นฟู ผู้กระทำผิดในเรือนจำของผู้ประกอบการที่มีต่อผู้พ้นโทษ ประกอบด้วย ด้านทักษะอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาพฤติกรรม ร่างกายและจิตใจ และในด้านอื่น ๆ การยอมรับอยู่ในระดับปานกลาง และการยอมรับในด้านมาตรการและสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายของผู้ประกอบการที่มีต่อผู้พ้นโทษ ประกอบด้วย ด้านภาษี และการประกันภัย การยอมรับอยู่ในระดับมาก ในการทดสอบสมมติฐานพบว่า ศาสนาของผู้ประกอบการต่างกัน การยอมรับผู้พ้นโทษของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความรู้ของผู้ประกอบการกับการยอมรับผู้พ้นโทษของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2563). ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ. สืบค้นจาก http://www.correct.go.th/care/care/.

กรมราชทัณฑ์. (2564). สถิติการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง. สืบค้นจาก http://www.correct.go.th/recstats/index.php

กรมสรรพากร. (2563). พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 704 พ.ศ.2563 การยกเว้นรัษฎากร กรณีการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษเข้าทำงาน. สืบค้นจาก https://www.rd.go.th/1603.html.

ฉันทวรรณ ยงค์ประเดิม. (2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับบทบาทสตรีในการเป็นผู้นำทางการบริหาร : ศึกษาเฉพาะกรณี พนักงานบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

เฉลิมชัยวงค์ บริรักษ์. (2553). ความคาดหวังของผู้ประกอบการที่มีต่อการจ้างงานผู้ต้องขังพ้นโทษและได้รับ การฝึกวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ชไมพร สมจิตรานุกิจ. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้สมุนไพรทดแทนสารเคมี กำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในชุมชนหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง. (2562). ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำหน้าที่ศูนย์ CARE คืออะไร. สืบค้นจาก https://cida.site/care_center.html

ไทยโพสต์. (2564). 'สมศักดิ์' เดินหน้าลดสถิติผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ เล็งสร้างงาน สร้างอาชีพ. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/88793.

นิศา ศิลารัตน์ และ วาสิตา บุญสาธร. (2562). ปัจจัยและประโยชน์ในการรับผู้พ้นโทษเข้าทำงานในองค์กร. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 11(2), 90-114.

ปนัดดา อินทราวุธ. (2543). การยอมรับมาตรฐาน ISO 14001 ของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล คิวลิตี้ฟุตแวร์ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). บทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทยในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์.วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 205-250.

รายงานสถานการณ์ SME. (2564). รายงานสถานการณ์ MSME ปี 2564. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/th/download.php?modulekey=215

ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคเหนือ. (2562). บุคลิกภาพและทักษะทางอาชีพของผู้ใกล้พ้นโทษ และความต้องการจ้างงานของนายจ้าง กรณีศึกษา: เรือนจำกลางลำปาง. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/prd/download/download_by_pool_file/43740

สุพิชฌาย์ สีตะสิทธิ์. (2558). แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.). (2557). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/th/download.php?modulekey=27.

The Momentum. (2561). 8 ปีข้อกำหนดกรุงเทพ กับการผลักดัน 2 เรื่องใหญ่ ‘รับผู้เคยจำคุกเข้าทำงานใช้มาตรการอื่นแทนขัง. สืบค้นจาก https://themomentum.co/tij-8-years-the-bangkok-rules/.

Gordon, Judith R. (1999). Organizational Behavior: A Diagnostic Approach. (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall International.

Rogers, Everett M. (1983). Diffusion of Innovation. New York: The Free Press.

Rogers, Everett M. and F.Floyd Shoemaker. (1971). Communication of Innovations: A Cross Cultural Approach. New York: The Free Press.