การคัดเลือกตัวแบบพยากรณ์ราคามะม่วงเขียวเสวย (SELECTION OF FORECASTING MODELS FOR THE MANGO PRICES )

ผู้แต่ง

  • วรางคณา เรียนสุทธิ์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

มะม่วงเขียวเสวย, วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์, วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลัง, วิธีการพยากรณ์รวม

บทคัดย่อ

                     วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ การคัดเลือกตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมกับอนุกรมเวลาราคามะม่วงเขียวเสวย โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 159 ค่า ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 147 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีฤดูกาลอย่างง่าย วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ และวิธีการพยากรณ์รวมซึ่งจะรวม 2 วิธีการพยากรณ์ที่มีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) ต่ำ ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 12 ค่า นำมาใช้สำหรับการเปรียบเทียบความถูกต้องของตัวแบบพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์ MAPE ที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า จากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษา วิธีที่มีความถูกต้องมากที่สุด คือ วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์

Downloads

References

[1] นิฉา แก้วหาวงษ์. (2556). การเปรียบเทียบตัวแบบ Pegels, ARIMA และตัวแบบผสม Pegels-ARIMA ในการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกมะม่วงของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 21(6: ฉบับ
พิเศษ), 578-593.
[2] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). ตารางที่ 3 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/view/1/ดัชนีราคาและผลผลิต/TH-TH
[3] Box, G.E.P., Jenkins, G.M., and Reinsel, G.C. (1994). Time Series Analysis: Forecasting and Control. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall.
[4] Bowerman, B.L., and O’Connell, R.T. (1993). Forecasting and Time Series: An Applied Approach. 3rd ed. California: Duxbury Press.
[5] สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. (2548). เทคนิคการพยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
[6] มุกดา แม้นมินทร์. (2549). อนุกรมเวลาและการพยากรณ์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง.
[7] Montgomery DC, Peck EA, and Vining GG. (2006). Introduction to Linear Regression Analysis. 4th ed. New York: John Wiley Sons.
[8] วรางคณา เรียนสุทธิ์, และเกศรินทร์ ทองฤทธิ์. (2560). การพยากรณ์ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย.วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 11(1), 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

เรียนสุทธิ์ ว. . (2020). การคัดเลือกตัวแบบพยากรณ์ราคามะม่วงเขียวเสวย (SELECTION OF FORECASTING MODELS FOR THE MANGO PRICES ). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(23, January-June), 52–62. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/244102