การสังเคราะห์ภาพและแก่นสาระของชายรักชายที่ปรากฏในงานวิจัยในประเทศไทย : การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ:
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, ชายรักชาย, สังคมไทยบทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ภาพที่ปรากฏในงานวิจัย และแก่นสาระในการศึกษาชาย รักชายในงานวิจัยในสังคมไทย ผ่านการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบตามแนวคิดของ Joanna Briggs Institute และการวิเคราะห์แก่นสาระของ Braun และ Clarke มาเป็นกรอบในการคัดเลือกและศึกษา ค้นคว้าข้อมูลจากระบบการจัดการวารสารออนไลน์ และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย ซึ่งมีจำนวนกว่า 100 ชิ้น โดยมีเกณฑ์ในการคัดออกของเนื้อหาคือต้องไม่ใช่บทความที่ปรากฏเฉพาะบทคัดย่อ รวมทั้งต้องเป็นงานวิจัยที่เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษที่ศึกษาในประเทศไทย หรือบริบทประเทศไทยเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า ภาพที่ปรากฏจากการสังเคราะห์ภาพที่ปรากฏในงานวิจัย คือ ภาพที่ปรากฏเชิงบวกที่หมายถึงการศึกษาจำนวนมากพยายามทำความเข้าใจชายรักชายว่าเป็นคนดีและเป็นเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง และแก่นสาระในวิทยานิพนธ์พบการสื่อสารเพื่อ “การต่อสู้” ร่วมกับ “ธำรงรักษา” ไปพร้อม ๆ กัน และ “การหลีกหนีสังคม” ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงการหนีจากการใช้พื้นที่ออฟไลน์เท่านั้น เพราะในปัจจุบันชายรักชายมักสื่อสารผ่านพื้นที่ออนไลน์มากขึ้นตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยใช้เกณฑ์ประเภทการปรากฏตัวในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ มิติพื้นที่แบบเห็นหน้าเจอตัวกันจริง มิติพื้นที่ในสื่อดั้งเดิม และสุดท้ายมิติพื้นที่ออนไลน์ ซึ่งผลการศึกษาที่พบคล้ายคลึงกันคือการสื่อสารเพื่อต่อสู้ในฐานะบุคคลธรรมดา การพยายามธำรงรักษาความเป็นชายรักชายผ่านการสื่อสารระหว่างกัน และการพยายามหลีกหนีสังคมเนื่องจากสังคมรอบข้างยังไม่ยอมรับมากเท่าที่ควร จึงทำให้ต้องแสวงหาพื้นที่ เพื่อแสดงออกถึงความเป็นชายรักชาย รวมทั้งการรวมตัวกันเป็นกลุ่มชายรักชายเพื่อนำเสนอสิ่งที่ชายรักชายต้องการ
Downloads
References
ชเนตตี ทินนาม, โกสุม โอมพรนุวัฒน์, และรัตนา ด้วยดี. (2563). ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ พ.ศ. 2564-2566. กรุงเทพมหานคร.
กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2563). การขอรับการสนับสนุนงบประมาณ/แบบฟอร์ม กทพ.1/กทพ.2/กทพ.3/เอกสารที่เกี่ยวข้อง. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/download/news/hr/th1611038944-111_0.pdf
Thai Journals Online. (2019). เกี่ยวกับ THAIJO. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/index/index
เบญจรงค์ ถิระผลิกะ. (2561). การทบทวนความรู้ “ชายรับชาย” ในพื้นที่ของสื่อใหม่. วารสารศาสตร์, 11(3), 288-318.
ณภัค เสรีรักษ์. (2557). การก่อตัวของวิธีคิด “การร่วมเพศเพื่อการร่วมเพศ” ในสังคมไทย. วารสารชุมทางอินโดจีน: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทัศน์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(4), 49-66.
The Joanna Briggs Institute. (2017). Critical appraisal tools. Retrieved from http://joannabriggs.org/research/critical-appraisal-
tools.html
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative research in Psychology, 3(2), 77-101.
เบญจรงค์ ถิระผลิกะ. (2563). “ก้น” : การเปลี่ยนผ่านความเป็นชายผ่านมุมมองชายรักชาย ชายที่ใช้ทวิตเตอร์ในการแสวงหาความสัมพันธ์กับชายอื่น-กรณีศึกษาในทวิตเตอร์. วารสารสตรีนิยม, 7(1), 151-182.
ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง. (2557). การศึกษารูปแบบการบริโภคสื่อประเภทแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้รับสารชายรักชาย: กรณีศึกษาแอพพลิเคชั่น "Grindr". ปริญญานิพนธ์ ว.ม. (การบริหารสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kevin Laddapong. (n.d.). พวกเราโดนไล่มาเล่นในนี้?: โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและอารมณ์ในแอปพลิเคชันกลุ่ม "เกย์หมี". สืบค้นจาก https://www.shorturl.asia/VX82H
เพ็ญมาส กำเนิดโทน. (2528). การยอมรับของครูต่อนักเรียนเกย์: กรณีศึกษาข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 6 โรงเรียน. ปริญญานิพนธ์ สม.ม. (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีระยุทธ ปีสาลี. (2557). กรุงเทพฯ ยามราตรี. กรุงเทพฯ: มติชน.
Jackson, P. A. (1995). Dear uncle go: Male homosexuality in Thailand: Bua Luang Books.
บงกชมาศ เอกเอี่ยม. (2532). เกย์ : กระบวนการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์รักร่วมเพศ. ปริญญานิพนธ์ สส.ม. (สังคมสงเคราะห์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โชคชัย ปรีชาหาญ. (2540). วิถีชีวิตของชายรักร่วมเพศ : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา). พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิธิวัธน์ เตมะวัธนานนท์. (2557). การสร้างความฉลาดรู้เรื่องเพศของอาจารย์ชายรักชายในสถาบันอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนุสรณ์ ศรีแก้ว. (2534). ปัญหาสังคมในภาพยนตร์ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล. ปริญญานิพนธ์ นศ.ม. (นิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จตุพร บุญ-หลง. (2558). ชีวิตติดเบอร์ : ตัวตนและเพศวิถีของเกย์ "ควิง" ในเซานา M. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (สตรีศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชญาณัฐฏสัสร์ ซ่อนกลิ่น. (2556). วิถีชีวิตชายขายตัวในบาร์เกย์ย่านสุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนสังคมศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปาณิสรา มงคลวาที. (2550). การนำเสนอภาพกลุ่มชายรักชายในภาพยนตร์ไทยปี พ.ศ. 2550. ปริญญานิพนธ์ ว.ม. (การบริหารสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิรภพ แก้วมาก. (2556). การสร้างตัวละครหลักและวิธีการเล่าเรื่องชายรักชายในสื่อบันเทิงไทย. ปริญญานิพนธ์ นศ.ม. (นิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยศิริ บุญยกุลศรีรุ่ง. (2553). เพศสภาพและเพศวิถีชายรักชายในภาพยนตร์ไทย. ปริญญานิพนธ์ นศ.ม. (นิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐิติวัฒน์ สมิตินันทน์. (2555). การสร้างตัวละครเพศที่สามในภาพยนตร์ไทย. ปริญญานิพนธ์ นศ.ม. (นิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจรงค์ ถิระผลิกะ. (2559). ปัจจัยที่สนับสนุนการสร้างสรรค์เนื้อหาเพศนอกกรอบในภาพยนตร์เรื่อง “รักแห่งสยาม” ของ มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(1), 143-149.
เบญจรงค์ ถิระผลิกะ. (2559). ปัจจัยที่สนับสนุนการสร้างสรรค์เนื้อหาเพศนอกกรอบในภาพยนตร์เรื่อง “รักแห่งสยาม” ของ มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เรข์ณพัศ ภาสกรณ์. (2554). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภค และการเปิดรับสื่อของชายรักชายในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ นศ.ม. (นิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชา พิมศักดิ์, และโสภี อุ่นทะยา. (2017). SOTUS พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง: การประกอบสร้างอัตลักษณ์เพศนอกกรอบ ในนวนิยายรักวัยรุ่นแนววาย. วารสารการบริหารปกครอง, 6(2), 174-193.
เบญจรงค์ ถิระผลิกะ. (2562). เมื่อสื่อพยายาม “ปรุง” เรื่องชายรักชายให้เป็นสินค้า. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 6(2), 95-104.
จเร สิงหโกวิน. (2560). ถอดผ้าขายร่างในละครสาววาย. ชุดสังคม-วัฒนธรรมร่วมสมัย ลำดับที่ 6 เมื่อร่างกลายเป็นเพศ อำนาจเสรีนิยมใหม่ของเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
เบญจรงค์ ถิระผลิกะ. (2562). Gay OK Bangkok การเล่าเรื่องจริงของเพศนอกกลุ่มในวัฒนธรรมป๊อป. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 410-425.
พจมาน มูลทรัพย์. (2551). เรื่องเล่าของเกย์ในชุมชนวรรณกรรมออนไลน์ : กรณีศึกษากลุ่ม "บลูสกาย โซไซตี้" ใน www.pantip.com. ปริญญานิพนธ์ อ.ม. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนติ สุนทราวราวิทย์. (2553). การสร้างความหมายและตัวตน “เกย์” ในพื้นที่แห่งความจริงและพื้นที่ไซเบอร์. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนามนุษย์และสังคม). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อภิญญา เสียงสืบชาติ. (2552). การพัฒนาเว็บท่าสำหรับสังคมเกย์ชาวไทย. ปริญญานิพนธ์ (สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รณภูมิ สามัคคีคารมย์, พิมพวัลย์ บุญมงคล, วชิรา จันทร์ทอง, ภานุพัฒน์ พุ่มพฤกษ์, และชยานันท์ มโนเกษมสุข. (2551). เพศวิถีในสื่อนิยม: บริบทเสี่ยงและเสริมต่อสุขภาวะทางเพศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชินวร ฟ้าดิษฐี. (2014). เว็บไซต์เกย์: พื้นที่สาธารณะสำหรับคนชายขอบ. Damrong Journal of The Faculty of Archaeology Silpakorn University, 8(1), 81-101.
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์. (2558). วัยรุ่นใช้สื่อออนไลน์อย่างไรในการหาคู่. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 “ประชากรและสังคม 2558”. หน้า 29-41. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐวุฒิ ขาวคง. (2562). นัดยิ้ม : กระบวนการนัดหมายเพื่อมีเพศสัมพันธ์ผ่านแอพพลิเคชั่นเกย์. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/
socanthkuofficial/posts/2314537005328362
Samakkeekarom, R., & Boonmongkon, P. (2011). Cyberspace, power structures, and gay sexual health: the sexuality of Thai men who have sex with men (MSM) in the Camfrog on-line web-cam chat rooms. n.p.
ปรเมศวร์ ตั้งสถาพร, และพัชรีพร หงษ์ทอง. (2020). กดซ้ำ กดซ้อน: บรรทัดฐานความรักเพศเดียวกันกับซีรีส์วาย. สืบค้นจาก https://bit.ly/3uj5Xdw
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต