รักนอกขนบ: กรณีศึกษามุมมองความรักที่ปรากฏในสังคมไทยร่วมสมัยจากเพลงไทยสากลของธนิดา ธรรมวิมล (ดา เอ็นโดรฟิน)

ผู้แต่ง

  • นันทนา ต๊ะสุ ภาควิชาภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐพร ไข่มุกข์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

เพลงรัก, พฤติกรรมความรัก, สังคมไทยร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมเกี่ยวกับความรักและรูปแบบความสัมพันธ์ในสังคมไทยร่วมสมัยพร้อมทั้งวิเคราะห์สังคมไทยร่วมสมัยในช่วง พ.ศ. 2547-2562 จากกรณีศึกษาเนื้อเพลงไทยสากลของธนิดา ธรรมวิมล (ดา เอ็นโดรฟิน) จำนวน 6 อัลบั้ม 78 เพลง โดยใช้กรอบแนวคิดวัฒนธรรมประชานิยมเพื่อเป็นแนวทางหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาพบว่า เนื้อเพลงไทยสากลของดา เอ็นโดรฟิน แสดงให้เห็นพฤติกรรมการแสดงออกซึ่งความรักและรูปแบบความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมไทยร่วมสมัยมีความซับซ้อนและมีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มบุคคล นอกจากนี้เนื้อหาเพลงรักของดา เอ็นโดรฟิน ยังแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยร่วมสมัยเริ่มยอมรับการปรากฏอยู่ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ด้วยเหตุนี้เนื้อเพลงรักของดา เอ็นโดรฟินจึงสามารถสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมเกี่ยวกับความรักและรูปแบบความสัมพันธ์ของคนไทยร่วมสมัยที่แตกต่างไปจากกรอบพฤติกรรมการแสดงความรักตามขนบของสังคมไทยดั้งเดิมอย่างชัดเจน

Downloads

Download data is not yet available.

References

จักรี ศรีมุงคุณ. (2547). อัตลักษณ์ในวรรณกรรมเพลงเพื่อชีวิตของพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อวัสดากานต์ ภูมี. (2555). การแสดงภาพลักษณ์สตรีในบทเพลงไทยสากล: กรณีศึกษาบทเพลงที่ขับร้องโดย ธนพร แวกประยูร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกรี เจริญสุข. (2532). จะฟังดนตรีอย่างไรให้ไพเราะ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

ศรี อยุธยา. (2546). เอื้อ สุนทรสนาน ดุริยกวีสี่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้ากรุ๊ป.

พรรณี ปรัชญาบำรุง. (2542). ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมไทยผ่านเพลงไทยสากล หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – พ.ศ. 2500 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรนิภา บุณยะรัตเวช. (2548). ความเปรียบและแนวคิดเกี่ยวกับความรักในเพลงไทยสากล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุขุมาล จันทวี. (2536). การวิเคราะห์เพลงไทยสากลแนวใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2534 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรมาภรณ์ ลิมป์เลิศเสถียร. (2557). เพลงนอกใจ : ทางออกของคนในสังคมไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(1), 211-224.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). คนพันธุ์ป๊อป: ตัวตนคนไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

วันชนะ ทองคำเภา. (2561). ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของ “ผู้ชายพ่ายรัก” จากเพลงคู่เลิศ-ศรีสุดา. วารสารวรรณวิทัศน์, 18(1), 57-84.

เผ่าพันธุ์ อมตะ. (2547). สิ่งสำคัญ. ใน พริก [ซีดี]. กรุงเทพฯ: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่.

ชนะ เสวิกุล. (2555). ยิ่งรู้จัก ยิ่งรักเธอ. ใน เพลงประกอบโฆษณา“50 ปี โตโยต้า. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=v5wvIGxvdLI

ภัคณะ สรุโฆษิต. (2547). เพื่อนสนิท. ใน พริก [ซีดี]. กรุงเทพฯ: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่.

เผ่าพันธุ์ อมตะ. (2548). เมื่อไรเขามา ฉันจะไป. ใน สักวา 49 [ซีดี]. กรุงเทพฯ: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่.

เผ่าพันธุ์ อมตะ. (2551). ดูแลเขาให้ดีดี. ใน Sound About [ซีดี]. กรุงเทพฯ: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่.

ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์. (2549). ไม่ต้องรู้ว่า เราคบกันแบบไหน. ใน Sleepless Society 2 [ซีดี]. กรุงเทพฯ: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่.

เผ่าพันธุ์ อมตะ. (2550). คืนข้ามปี. ใน ภาพลวงตา [ซีดี]. กรุงเทพฯ: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่.

เผ่าพันธุ์ อมตะ. (2551). การเดินทางที่แสนพิเศษ. ใน Sound About [ซีดี]. กรุงเทพฯ: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่.

ปรีดิ์ปณต นัยนะแพทย์. (2561). ร้องเพลงชาติ Pride 9 เพลงสร้างหมุดหมายของชาว LGBTQ. สืบค้นจาก https://thematter.co/entertainment/nine-songs-pride-anthem/53843

ฐิติมา กมลเนตร. (2559). ความรักในมหานคร: ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงและการโหยหาอดีตในวรรณกรรมเอเชียร่วมสมัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30