การใช้พื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเมือง

ผู้แต่ง

  • อิทธิพงษ์ ทองศรีเกต กลุ่มสหวิทยาการสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

พื้นที่สาธารณะ, ผู้สูงอายุ, สุขภาวะ, เขตเมือง

บทคัดย่อ

พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่หนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถเข้าถึงและใช้บริการจากสิ่งที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ สังคมไทยในปัจจุบันกำลังอยู่ในภาวะสังคมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุต้องมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเมือง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูงอายุ จำนวน 12 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และเข้ามาใช้สวนสาธารณะเป็นประจำ (10 ครั้งต่อเดือน) ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2563 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยในเขตเมืองเข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะประเภทสวนสาธารณะในการส่งเสริมสุขภาวะของตนเองใน 3 มิติ ได้แก่ 1) การส่งเสริมสุขภาวะด้านร่างกาย ด้วยการเดินออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์เครื่องเล่นที่ติดตั้งอยู่ในสวนสาธารณะ 2) การส่งเสริมสุขภาวะด้านสังคม ด้วยการใช้เครือข่ายทางสังคมมาสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องของการกลับมาใช้พื้นที่สาธารณะ และ 3) การส่งเสริมสุขภาวะด้านจิตใจ ด้วยการใช้พื้นที่สาธารณะเป็นตัวกลางที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าภายในตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

United Nations. (2015). Population Division 2015. World Population Ageing 2015 (ST/ESA/SER.A/390).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2559-2559). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์.

สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2558). การย้ายถิ่นเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น: กรณีศึกษาคนญี่ปุ่นวัยเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารวิชาการของสมาคมญี่ปุ่นศึกษาแห่งประเทศไทย, 5(1), 35-52.

ทศพล คชสาร. (2557). การย้ายถิ่นเข้าและการปรับตัวของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Habermas, J. (1989). The structural transformation of the public sphere: An inquiry into a category of bourgeois society. Cambridge: MIT Press.

บรรลุ ศิริพานิช. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

Zhu, B.-W., Zhang, J.-R., Tzeng, G.-H., Huang, S.-L., and Xiong, L. (2017). Public open space development for elderly people by Using the DANP -V model to establish continuous improvement strategies towards a sustainable and healthy aging society. Sustainability, 9(3). Article number 420. http://www.mdpi.com/journal/sustainability

Lloyd, K., and Auld, C. (2003). Leisure, public space and quality of life in the urban environment. Urban Policy and Research, 21(4), 339-356.

Madanipour, A. (2003). Public and private spaces of the city. London: Routledge.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, และศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2552). รูปแบบการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในระยะยาวโดยชุมชน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 12(3), 180-192.

นวรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์, และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2562). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 262-269.

Walter, S. (1999). Holistic health. Retrieved from https://ahha.org/selfhelp-articles/holistic-health/

Burton, E. (2012). Street ahead? The role of the built environment in healthy ageing. Perspectives in Public Health, 132(4), 161-162. https://doi.org/10.1177/1757913912449570

LoBiondo-Wood, G., and Haber, J. (2002). Nursing research: Methods and critical appraisal for evidence-based practice (5th ed.). Mosby Elsevier.

ภัทรา สุขะสุคนธ์. (2563). รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(3), 180-192.

ดวงกมล ภูนวล, พัชรินทร์ สิรสุนทร, เสรี พงศ์พิศ, และศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. (2557). การพัฒนารูปแบบเมืองผู้สูงอายุอยู่สบาย. วารสารสุขศึกษา, 37(126), 82-101.

TCDC. (2017). Dear Elders: Singapore accommodates aging with new policies. Retrieved from http://www.tcdc.or.th/articles/others/27957/?lang=th#Dear-Elders

อดิศักดิ์ จำปางทอง, และศชากานท์ แก้วแพร่. (2564).แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 15(2), 235-267.

Yung, E. H. K., Conejos, S., and Chan, E. H. W. (2016). Social needs of the elderly and active aging in public open spaces in urban renewal. Cities, 52, 114-122.

Social Policy Research Centre. (2013). Promoting social networks for older people in community aged care. Retrieved from http://www.benevolent.org.au

Adams, K. B., Leibbrandt, S., and Moon, H. (2011). A critical review of the literature on social and leisure activity and wellbeing in later life. Ageing and Society, 31(4), 683-712. https://doi.org/10.1017/S0144686X10001091

ณัฐธิดา จงรักษ์, และนัฎฐิกา นวพันธุ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพของพื้นที่ว่างสาธารณะกับรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาสวนสาธารณะในพื้นที่เมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 12(1), 27-39.

ปณิธี บราวน์. (2557). พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและ “ทุน” ที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงวัย. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มข., 31(3), 97-120.

Francis, M. (1989). Control as a Dimension of Public Space Quality. In Altman, I., and Zube, E. (Eds). Public Places and Spaces. 147-172. New York: Plenum Press.

Cachadinha, C, Pedro, J. B., and Fialho, J. C. (2011). Social participation of community living older persons: Importance, determinants and opportunities. n.p.

ประณีต จินตนะ, สายใจ สุขทาน, และชุมพล ตาแก้ว. (2561). ความสัมพันธ์และการอำนาจในการทำนายของการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 119-131.

Elster, J. (1991). Nuts and Bolts: For the Social Sciences. Cambridge: Cambridge University Press.

Eliopoulos, C. (2014). Grontological Nursing (8th ed). Philaelphi: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30