การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยเทคนิคคำถาม R-C-A

Main Article Content

ณฤดี เนตรโสภา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยเทคนิคคำถาม R-C-A เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบททั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 2) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน และ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 39 คน ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบ ผสมผสานมีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กิจกรรมการเรียนการสอนของรูปแบบ 4) การวัดและประเมินผล มีกิจกรรมการเรียนการสอน แบบผสมผสาน 2 รูปแบบ คือ แบบออฟไลน์และแบบออนไลน์ ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน มี 4 ขั้น คือ 1) ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ 2) ขั้นเรียนรู้ตามรูปแบบ 3) ขั้นอภิปรายและสรุป และ 4) ขั้นประเมินผล ได้ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เท่ากับ 81.20/82.72 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5133  นักเรียนกลุ่มทดลองมีสัมมาทิฏฐิและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 สัมมาทิฏฐิกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความ สัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางอย่างมีนยัสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 และนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้านกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย