คู่มือสำหรับการเตรียมบทความต้นฉบับ

1. คำแนะนำในการเตรียมบทความ 

2. Template บทความวิจัย 

3. Template บทความวิชาการ

4. Template บทวิจารณ์หนังสือ

เอกสารแนบเพิ่มเติม

1. แบบฟอร์มส่งบทความเข้ารับการพิจารณาลงตีพิมพ์

2. หนังสือรับรองการส่งบทความตีพิมพ์ฯ (เฉพาะบทความที่มีผู้นิพนธ์มากกว่า 1 ท่าน) **กรุณาพิมพ์เท่านั้น**

เอกสารอื่นๆ

1. แผนผังขั้นตอนการส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสาร

2. โปรแกรมการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (สำหรับเอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่ไม่มีภาษาอังกฤษ)

https://www.thai2english.com/

3. หนังสือรับรองคุณภาพวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คู่มือสำหรับการใช้ระบบ TCI-ThaiJo

1. สำหรับผู้แต่ง

2. สำหรับผู้ประเมิน

 

กรุณาอ่านคำชี้แจงก่อนส่งบทความ

1. กำหนดส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาลงตีพิมพ์ ดังนี้

ไฟล์บทความ

          - บทความวิจัย/บทความวิชาการ/บทวิจารณ์หนังสือ ในรูปแบบไฟล์ Word       1 ไฟล์

          - บทความวิจัย/บทความวิชาการ/บทวิจารณ์หนังสือ ในรูปแบบไฟล์ PDF         1 ไฟล์

ไฟล์อื่น ๆ

          - แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาลงตีพิมพ์ลงในวารสาร                    1 ฉบับ

          - หนังสือรับรองการส่งบทความ (สำหรับบทความที่มีผู้แต่งมากกว่า 1 ท่าน)     1 ฉบับ 

          - หนังสือรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)                                          1 ฉบับ

*วารสารจะไม่ดำเนินการตรวจสอบและจะปฏิเสธการรับพิจารณาทันที หากพบว่าส่งเอกสารไม่ครบตามที่กำหนดไว้ *

2. กรุณาเตรียมบทความให้ถูกต้องตามเอกสารคำแนะนำจากทางวารสาร และตรวจสอบจาก Checklist ก่อนส่งเข้ารับการพิจารณาลงตีพิมพ์ เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการขั้นถัดไป หากเตรียมไม่ถูกต้อง ทางวารสารจะตัดสิทธิ์การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการลงตีพิมพ์ทันที

3. ค่าธรรมเนียมวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีรายละเอียดดังนี้

ค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพบทความ เรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ผ่านเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ เรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการให้สามารถลงตีพิมพ์ในวารสารได้

(เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบก่อนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทุกรายการ)

ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียม 
        
กำหนดให้โอนเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางบัญชีธนาคาร ดังนี้
                ชื่อบัญชี      Yala Rajabhat University 

                ธนาคาร      กรุงไทย สาขายะลา  

                เลขที่บัญชี   909-1-09959-3  

****ให้ชำระเงินค่าธรรมเนียมทุกรายการหลังจากได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เท่านั้น****


* หมายเหตุ:

- การชำระค่าธรรมเนียมทุกรายการตามตารางข้างต้นนี้ "ไม่ได้การันตีว่าว่าบทความของท่านจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา " เนื่องจากบทความจะต้องผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คน และบรรณาธิการก่อน จึงจะสามารถแจ้งผลการพิจารณาว่า บทความของท่านผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและบรรณาธิการ ให้สามารถลงตีพิมพ์เผยแพร่ได้หรือไม่

- หากบทความของท่าน"ถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์" จากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบรรณาธิการ ทางวารสารจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้นิพนธ์ทุกกรณี (เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่ท่านชำระ จะเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความของท่าน) จึงขอให้ท่านรับทราบ ก่อนการส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

- สำหรับบุคคลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะต้องเป็นผู้นิพนธ์ชื่อแรกเท่านั้น จึงจะได้สิทธิ์ชำระค่าธรรมเนียมในราคาบุคคลภายใน แต่ถ้าไม่ได้เป็นผู้นิพนธ์ชื่อแรก จะถือว่าเป็นบุคคลภายนอก

4. ระยะเวลาของกระบวนการปกติใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน *(ทางวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับบทความที่ต้องการลัดคิว หรือเร่งกระบวนให้สั้นลงกว่านี้)

5. กรุณาชำระเงินค่าธรรมเนียมทุกรายการภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังได้รับการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ หากไม่ชำระตามเวลาดังกล่าว ทางวารสารจะขอตัดสิทธิ์การพิจารณาลงตีพิมพ์ทันที

6. หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบ ThaiJo เมื่อได้รับหลักฐานการชำระเงิน ทางวารสารจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

7. กรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นควรให้ปรับแก้บทความ ผู้นิพนธ์ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขบทความนั้น ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้แก้ไข มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์

8. ผู้นิพนธ์จะต้องปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและบรรณาธิการ หากไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของผู้ประเมินและบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์สามารถชี้แจงให้บรรณาธิการพิจารณาอีกครั้งทั้งนี้ การตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

---------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความประมาณ 1 เดือน นอกนั้นขึ้นอยู่กับเวลาในเตรียมบทความ และการปรับแก้บทความของผู้นิพนธ์ด้วย

* เริ่มนับเวลาตั้งแต่บทความผ่านเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ

---------------------------------------------------------------------------------