การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาของผู้เรียนสำหรับครูระดับประถมศึกษา

Main Article Content

อนุชิต จันทศิลา
พจมาน ชำนาญกิจ
ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนโดยใช้ สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาของผู้เรียน 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาของผู้เรียน 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ 3) ทดลองและศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม โดยใช้รูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design ใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะ ประกอบด้วย ด้านความรู้ 5 สมรรถนะ 20 ตัวบ่งชี้ ด้านทักษะ 5 สมรรถนะ 11 ตัวบ่งชี้ และด้านคุณลักษณะ 3 สมรรถนะ 6 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งสิ้น 13 สมรรถนะ 37 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด 2) หลักสูตรฝึกอบรมมี 8 องค์ประกอบ คือ ความเป็นมา หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล และ 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า สมรรถนะด้านความรู้หลังอบรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถนะด้านทักษะ อยู่ในระดับดีมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถนะด้านคุณลักษณะหลังอบรมสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของครูต่อการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมาก ที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอน ของครูอยู่ในระดับมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย