การพัฒนาวัง 7 หัวเมืองชายแดนภาคใต้ให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของวัง 7 หัวเมืองชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของวัง 7 หัวเมืองชายแดนภาคใต้ 3) แนวทางการพัฒนาวัง 7 หัวเมืองชายแดนภาคใต้ ให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคณุภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมทั้งหมด 109 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักประวัติศาสตร์รู้จักปัตตานีในนามของลังกาสุกะ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้แบ่งแยกหัวเมืองมลายูปตานีเป็น 7 หัวเมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองยะลา เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ เมืองรามันห์ เมืองสายบุรี และเมืองหนองจิก และแต่งตั้งผู้ครองหัวเมืองทั้งเจ็ดอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสงขลา 2) วัง 7 หัวเมืองชายแดนภาคใต้เป็นสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีความเป็นมาควบคู่กับระบบการปกครองบริเวณ 7 หัวเมืองชายแดนใต้ ขณะนี้อาคารของวังบางแห่งกำลังทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลาและยังไม่มีการซ่อมแซม หรือบางแห่งกำลังถูกซื้อขายเปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิม และอาจจะมีการแก้ไขดัดแปลงรูปแบบอาคารที่มีคุณค่ามาแต่เดิม 3) แนวทางการพัฒนาวัง 7 หัวเมืองชายแดนภาคใต้ ให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อม และตัวอาคารการจัดทำป้ายบอกทาง การพัฒนาวังให้เป็นพิพิธภัณฑ์ และการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น คู่มือแนะนำาการท่องเที่ยว จุลสารและสื่อออนไลน์
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น