การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน นักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง

Main Article Content

กุญช์ภัสส์ พงษ์พานิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ปีการศึกษา 2558 สังกัดสำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 550 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ถามความคิดเห็นต่อตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองเกี่ยวกับด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านจิตวิทยาสำหรับครู ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ด้านการบริหารจัดการในชั้นเรียน และด้านความเป็นครู ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มี 5 องค์ประกอบ 52 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้มี 11 ตัวบ่งชี้ 2) สมรรถนะการบริหารจัดการในชั้นเรียนมี 6 ตัวบ่งชี้ 3) สมรรถนะการพัฒนาหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้มี 8 ตัวบ่งชี้ 4) สมรรถนะการวัดผลและประเมิน ผลการศึกษามี 19 ตัวบ่งชี้ และ 5) ความเป็นครูมี 8 ตัวบ่งชี้ ซึ่งความแปรปรวนขององค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายตัวบ่งชี้ได้ร้อยละ 70.486

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Bureau Of academic Affairs and Education Standards, MOE (2008). Curriculum Kindergarten and refer to Bain Based Learning. Bangkok: The Agricultural Co-0perative Federation of Thailand, Limited. (in Thai)

2.Bureau of the Education Testing. (2011). The quality assessment Standards Kindergarten Education for Quality Assurance inSchool. Bangkok: Krusapa Printer. (in Thai)

3.Chantarattana, R. (2015). Factors influence Lateral Thinking of Student in Yala Rajabhat University. Journal of Yala Rajabhat University, 10(2), 91-106. (in Thai)

4.Dachakub, P. (2014). The 21st Century Learning. Bangkok: Chulalongkorn University Printer. (in Thai)

5.DuFour, R., Eakey, R. A. & Many, T. (2006). Learning by Doing A Handbook for Professional Learning Communities at work. Bloomington,IN: Solution Tree Press.

6.Ministry of Education. (2011). Planning National Education No.11 (A.D.2012-2016). Bangkok: Office of the Secretary of Education. (in Thai)

7.Poonpat, J. (2011). Self-Evaluation attribute of Kindergarten Teachers Child Development Centers of Local Administrative Organizations in Thailand. Bangkok: Suandusit Rajabhat University. (in Thai)

8.Pornseema, D. (2006). Exiting problem not teacher. Journal Co-reform of Kruhusapa, 4(42), 58-59. (in Thai)

9.Sheffer, S. (2007). Finding for education to quality develop teacher. Journal of Kruhusapa : The 2nd KRU Conference, August, 2007, Bangkok: Kruhusapa. (in Thai)

10.Tangchuang, P. & Mounier, A. (2009). Research Programmes and building research Capacity within the Central for Education and labour Studies (CELS) 2008-2011: experiences, lessons, perspective and prospects. Jounal of Education Chiang Mai University, 36(1-2), 91-113.

11.Tangchuang, P. (2012). Model of Competency Development in Education. Bangkok: Duangkamon Printer. (in Thai)

12.Wiratchai, N. (2008). Evaluation indicator Development. The 1st Open Moral Conference, September 29, 2008. Bangkok: Ambassador Hotel. (in Thai)

13.Yodjiw, J. (2012). Develop indicator Competency in learning and teaching of Kindergarten Teachers. Master’s thesis. Naresuan University. (in Thai)