การพัฒนาวิชาชีพของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาด้วยการเป็นพี่เลี้ยง : การศึกษา เชิงปรากฏการณ์วิทยา

Main Article Content

ปริวิทย์ ไวทยาชีวะ
ทิพย์รัตน์ นพฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ ต้องการนำเสนอปรากฏการณ์การพัฒนาวิชาชีพของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาด้วยการเป็นพี่เลี้ยง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบอุตรวิสัย ผลการวิจัยพบว่า 1) แก่นประสบการณ์ของการเป็นพี่เลี้ยง มีระยะเวลาแห่งการสร้างสัมพันธภาพ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มสร้างสัมพันธภาพ ระยะการเรียนรู้ ระยะการแยกจากกัน และระยะการสร้างความผูกพันสู่มิตรภาพใหม่ 2) เงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเป็นพี่เลี้ยง ประกอบด้วย ช่วงเวลาแห่งสัมพันธภาพ รูปแบบของการทำหน้าที่พี่เลี้ยง บทบาทของการทำหน้าที่พี่เลี้ยง และยังเกิดผลสืบเนื่องที่ดีต่ออาจารย์ใหม่ อาจารย์พี่เลี้ยงและองค์กร 3) ลักษณะของการพัฒนาวิชาชีพ ประกอบด้วย การพัฒนาและถ่ายทอดทักษะการทำงาน การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 และเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการพัฒนา ประกอบด้วย สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ความต้องการพัฒนาศักยภาพเชิงวิชาการของคณาจารย์ รูปแบบการทำงานร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Allen, T. D., Eby, L. T., Poteet, M. L., Lentz, E. & Lima, L. (2004). Career benefits associated
with mentoring for protégé’s: A meta-analysis. Journal of Applied Psychology, 89(1),
127-136.
2.Jitlung, K. (2015). Study Identity of Good Teacher in Heart. Journal of Yala Rajabhat University,
10(2), 45-58. (in Thai)
3.Phanit, W. (2012). Way of learning for the 21st century learner. Bangkok: Sodsri-Saritwong
Foundation. (in Thai)
4.Phothisita, C. (2004). The Art and Science of qualitative research. Bangkok: Amarin printing
and publishing. (in Thai)
5.Pragattakomol, S. (2007). Mentoring characteristics, interpersonal relationship and intention
to develop others of personnel in a Private University, Chiang Mai Province. Master’s
Thesis. Chiang Mai University. (in Thai)
6.Pranompont, S. (2009). Research and Development of a Mentoring Program to Increase Learning
Outcomes of Undergraduate Students. Doctor of Philosophy’s Thesis. Chulalongkorn
University. (in Thai)
7.Prousoontorn, M. (2007). Experiences of Mentorship of Professional Nurses in a Government
University Hospital. Master’s Thesis. Chulalongkorn University. (in Thai)
8.Sangrung, P. (2007). Human relations in organizations. Bangkok: B. K. interprint. (in Thai)
Sutherland, V. J. & Cooper, C. L. (2000). Strategic Stress Management: An Organizational
Approach. London: Macmillan Press, Ltd.
9.Vitayacheeva, P. (2011). Self, working and organizational development, The approach to
human resource development in Higher education. Sueksasartsarn, 38(2), 136-141.
(in Thai)