การศึกษาเชิงประจักษ์ของอุปสรรค (Threats) ในการดำเนินงานด้านการพัฒนากิจกรรม นักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ยุทธนา กาเด็ม
อภิชาติ ใจอารีย์
ประสงค์ ตันพิชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสรรค (Threats) ของการดำเนินงานด้านการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิในฐานะนักวิจัยที่มีผลงานทางวิชาการหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินและให้ข้อเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่ในภาพรวมเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการอธิบายความสัมพันธ์ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 อุปสรรค (Threats) ด้านภาพรวมการดำเนินงานด้านการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมนักศึกษาบางกิจกรรมขัดต่อหลักการศาสนาอิสลาม และวัฒนธรรมท้องถิ่น 2) สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ไม่มีนักศึกษาจากต่างภูมิภาคต่างพื้นที่มาศึกษาส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษามีลักษณะเป็นวัฒนธรรมเดี่ยว 3) มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มชักจูงนักศึกษาให้เกิดความคิดเรื่องชาตินิยม 4) นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาระดับปริญญาตรีมีข้อจำกัดด้านการสื่อสารภาษาไทย และ 5) สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้รับนโยบายจากส่วนกลาง โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อจำกัดหรือลักษณะเฉพาะทางด้านประชากรที่มีความหลากหลายในพื้นที่ ตอนที่ 2 อุปสรรค (Threats) ด้านสภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่การดำเนินงานด้านการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาหากพิจารณารายข้อส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพรวมของการดำเนินงานด้านการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Creswell, J. W. (2013). QUALITATIVE INQUIRY & REAEARCH DESIGN Choosing Among Five
Approaches. Thousand Oaks: SAGE Publications.
2.Duangsuwan, S. (2015). The Model of Specialty University Administation. Journal of Yala
Rajabhat University, 10(2), 3-19. (in Thai)
3.Farungsang, B., Uttayawalee, K., Sungtong, E. & Haji-Awang, F. (2011). Education Reform in
Southern Border Province. Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humenities,
17(6), 157-174. (in Thai)
4.Kadem, Y. (2013). Types of Students Activities Suitable for the Multi-Cultural Society of Prince
of Songkla University, Hatyai Campus. Master’ s Thesis. Prince of Songkla University.
(in Thai)
5.Marshall, C. & Rossman, B. G. (2011). Designing Qualitative Research. (5th ed.). Massachusetts:
SAGE Publications.
6.Oontawatnadda, A. & Aronsri, A. (2008). Effect of Prince of Songkla University students’
Participation in Extra-curriculum Activities in 2005 Academic Year. Songklanakarin
Journal of Social Sciences and Humenities, 14(3), 431-445. (in Thai)
7.Sinlaratana, P. (2014). Primary and Basic Education. Bangkok: Chulalongkorn University printing.
(in Thai)
8.Sungtong, E. & Nitjarunkul, K. (2012). Organizational Challenges of Educators in the Era of
Education Reform and Unrest: A Case Study of Southern Border Province. Songklanakarin
Journal of Social Sciences and Humenities, 28(2), 123-154. (in Thai)
9.Suwanvong, D. (2014). Appropriate Strategies and Model for Administration of Higher education
Institutions in the Three Southern Border Province. Doctor’ s Thesis. Prince of Songkla
University. (in Thai)
10.Traimongkolkul, P. & Chatraphorn, S. (2012). Research Design. Bangkok: Kasetsart University
printing. (in Thai)