การเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดเป็นด่างฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และจุลธาตุภายหลังใส่ปูนแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในดินกรดจัด

Main Article Content

อิสริยาภรณ์ ดำรงรักษ์
โรส เจ๊ะแวมาเจ

บทคัดย่อ

ดินกรดจัดสามารถปรับปรุงให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ การวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง pH ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และจุลธาตุ เมื่อ   ใส่ปูนแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในดินกรดจัดชุดดินมูโน๊ะซึ่งมีเนื้อละเอียด และชุดดินต้นไทรซึ่งมีเนื้อ ปานกลาง ถึงหยาบ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ประกอบด้วย 5 สิ่งทดลอง แต่ละสิ่งทดลองทำ 3 ซ้ำ คือ ไม่ใส่ปูน  ใส่ปูน 1/4 ของความต้องการปูนเพื่อปรับ pH เป็นกลาง ใส่ปูน 1/2 ของความต้องการปูนเพื่อปรับ pH เป็นกลางใส่ปูนตามความต้องการปูนเพื่อปรับ pH เป็นกลางและใส่ปูน 1 1/2 ของความต้องการปูนเพื่อปรับ pH เป็นกลางจากนั้นทำการตรวจวัด pH ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ เหล็ก แมงกานีส และทองแดงที่สกัดได้เมื่อครบกำหนด 40 80 และ  120 วัน ผลปรากฏว่าตัวอย่างดินชุดดินมูโน๊ะมี pH เพิ่มขึ้นเมื่อใส่ปูน แต่ไม่เป็นไปตามค่าที่คาดหวังฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อใส่ปูนเพื่อปรับ pH เป็นกลาง แมงกานีสเพิ่มขึ้นถ้าใส่ปูนไม่เกิน pH คาดหวังเป็นกลาง แต่เมื่อใส่ปูนมากขึ้นแมงกานีสกลับลดลง และทองแดงลดลงเมื่อใส่ปูน ส่วนการเปลี่ยนแปลงของ pH ฟอสฟอรัส เหล็ก และทองแดงของตัวอย่างดินชุดดินต้นไทรเป็นไปในทำนองเดียวกับตัวอย่างดินชุด ดินมูโน๊ะ แต่ฟอสฟอรัสมีปริมาณสูงที่สุดเมื่อใส่ปูนเพียง  ของการปรับ pH เป็นกลาง ส่วนแมงกานีส ลดลงเมื่อใส่ปูนในทุกระดับ ตัวอย่างดินชุดดินมูโน๊ะเมื่อใส่ปูนในทุกระดับทำให้ pH สูงกว่าไม่ใส่ปูน (p < 0.01) ฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น เมื่อใส่ปูนเพิ่มจนถึงระดับคาดหวัง pH ของกลาง (p < 0.01) เหล็ก แมงกานีส และทองแดงลดลงเมื่อใส่ปูน (p < 0.01)  ตัวอย่างดินชุดดินต้นไทรมีฟอสฟอรัสสูงขึ้นเมื่อใส่ปูนไม่เกิน 1/2 ของการปรับ pH เป็นกลาง (p < 0.01) ส่วน pH เหล็ก แมงกานีส และทองแดงให้ผลในทำนองเดียวกัน กับตัวอย่างดินชุดดินมูโน๊ะ จะเห็นว่าการใส่ปูนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะดิน น่าจะเกิดประโยชน์ต่อการนำข้อมูลไปใช้ในการพิจารณาปรับปรุงดินกรดจัด

Article Details

บท
บทความวิจัย