การเปลี่ยนแปลงและความเกี่ยวข้องระหว่างคุณภาพน้ำกับสัตว์หน้าดินในแม่น้ำปัตตานีเขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

Main Article Content

วิชิต เรื่องแป้น

บทคัดย่อ

ความเกี่ยวข้องของคุณภาพน้ำที่มีสัตว์หน้าดินมีความสำคัญที่นำมาใช้ในการพยากรณ์ คุณภาพน้ำดีหรือเสียอย่างไร ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงและความเกี่ยวข้องระหว่างคุณภาพน้ำกับสัตว์หน้าดิน ในแม่น้ำปัตตานี พื้นที่ผ่านเทศบาลนครยะลา ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำทุก ๆ เดือน รวมการเก็บข้อมูล 12 ครั้ง จากจุดเก็บน้ำหลัก 6 พื้นที่ แล้วนำมาทำการวิเคราะห์มลสารและสัตว์หน้าดินได้ผลปรากฏว่าปริมาณเฉลี่ยตลอด ปีของมลสาร และความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินที่ตรวจพบออกซิเจนที่ละลายน้ำเท่ากับ 6.14 + 0.80 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าบีโอดีเท่ากับ 0.892 + 0.12 มิลลิกรัมต่อลิตร อุณหภูมิของน้ำเท่ากับ 28.27 + 0.49 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด - เบส 7.52 + 0.55 ความขุ่นของน้ำ 9.57 + 3.11 NTU คลอโรฟิลล์ - เอ 0.0132 + 0.001 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจน 26.52 + 13.64 ไมโครกรัมต่อลิตร ปริมาณไนเตรท - ไนโตรเจน เท่ากับ 0.0068 + 0.02 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณฟอสฟอรัสรวม เท่ากับ 63.08 + 7.05 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ยังพบว่าสัตว์หน้าดินทั้งหมดมี 7 families 4 orders 2 classes โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 158.74 + 20.28 ตัวต่อตารางเมตร จากการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของมลสารและสัตว์หน้าดินตามฤดูกาลพบความแตก ต่างอย่างมาก คือ ออกซิเจนละลายน้ำ ความขุ่น แอมโมเนีย – ไนโตรเจน และปริมาณตะกอนแขวนลอย ส่วนอุณหภูมิของน้ำ บีโอดี ความเป็นกรดเป็นด่าง ไนเตรท – ไนโตรเจน และไนโตร์ท – ไนโตรเจน ไม่พบความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด สำหรับการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของสัตว์หน้าดิน ไม่พบความแตกต่างอย่างเด่นชัด และความเกี่ยวข้องของคุณภาพน้ำกับความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินไม่มีความ เกี่ยวข้องกัน การวิจัยครั้งนี้พบว่าคุณภาพน้ำในระดับกลาง คือ ยังไม่มีมลพิษทางน้ำแต่ควรมีความระมัดระวังอย่างใกล้ชิด

Article Details

บท
บทความวิจัย