คุณลักษณะของแผ่นพรุนไคโตซานที่เตรียมจากเปลือกกุ้งและกระดองปลาหมึก

Main Article Content

Ausa Chandumpai
Monta Jumteanrak
Kongpat Pongpaiboon
Waykin Nopanitaya

บทคัดย่อ

ไคโตซานเป็นผลิตผลที่ได้จากการกำจัดหมู่อะซิติลออกจากโครงสร้างของไคตินซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเปลือกกุ้งและกระดองปลาหมึก สารชีวภาพนี้มีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา ตลอดจนช่วยเร่งการสมานแผล จึงเหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของสารโพลิเมอร์ชีวภาพที่สกัดจากสองแหล่งนี้ มีลักษณะการจัดเรียงตัวแตกต่างกันคือ ไคติน จากเปลือกกุ้งจัดเรียงตัวเป็นอัลฟ่าฟอร์ม แต่ไคตินจากกระดองปลาหมึกเป็นเบต้าฟอร์ม ดังนั้นคุณสมบัติหลายประการจึงแตกต่างกันด้วย  เนื่องจากเปลือกกุ้งเป็นของเหลือจากกระบวนการผลิตกุ้งแช่เยือกแข็งที่สามารถจัดหามาสกัดในระดับอุตสาหกรรมได้ง่าย ดังนั้นรายงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ไคติน และไคโตซานส่วนใหญ่จึงจำกัดขอบเขตเฉพาะอัลฟ่าฟอร์ม ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับเบต้าฟอร์มมีน้อยมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของแผ่นพรุนที่เตรียมโดยการระเหิดสารละลายไคโตซานจากเปลือกกุ้งเปรียบเทียบกับกระดองปลาหมึก  ผลการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนพบว่า  แผ่นพรุนของไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีรูพรุนเป็นจำนวนมาก และมีเส้นใยแน่นมากกว่าที่พบในกระดองปลาหมึก ความชื้นและความเข้มข้นของกรดที่คงเหลือในแผ่นพรุน ขึ้นอยู่กับปริมาณของไคโตซานที่ใช้เตรียมตัวอย่าง แผ่นพรุนที่เตรียมใหม่ทั้ง 2 ชนิดสามารถละลายได้ดีในน้ำและน้ำเกลือ แต่ละลายได้น้อยมากในสารละลายบัฟเฟอร์ที่ pH ประมาณ 7 แต่จะไม่ละลายในสารละลายเหล่านี้เมื่อนำไปอบแห้งด้วยความร้อน หรือเมื่อนำไปผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อเมื่อเพิ่มปริมาณไคโตซานในการเตรียมแผ่นพรุนให้สูงขึ้นความเข้มข้นกรดที่เหลือจะเพิ่มขึ้นด้วยอย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของกรดระหว่างแผ่นพรุนไคโตซานอบแห้งที่เตรียมจากสองแหล่งพบว่า แผ่นพรุนที่เตรียมจากเปลือกกุ้งมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่แผ่นพรุนไคโตซานที่เตรียมจากกระดองปลาหมึกมีความเข้มข้นต่ำลง ดังนั้นคุณสมบัติการละลายของแผ่นพรุนและความเข้มข้นของกรดที่เหลือ สามารถปรับให้สอดคล้องกับการประยุกต์ใช้ โดยกำหนดระยะเวลาการอบแห้งให้มีความเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย