ปัญหาและอุปสรรคในการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธร จังหวัดยะลา

Main Article Content

สุนทรีพรรณ กำปั่นทอง

บทคัดย่อ

ปัญหายาเสพติดกลับมาแพร่ระบาดรุนแรงขึ้น รวมถึงพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ถึงแม้ว่ามีสัดส่วนปัญหายาเสพติดเพียงร้อยละ 7 แต่จัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาที่รุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ และยังเกี่ยวโยงกับความมั่นคงของประเทศด้วย โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงจังหวัดยะลาที่พบว่าปัญหาของการแพร่ระบาดของยาเสพติดยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จึงทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรจังหวัดยะลา โดยมีประชากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธร จังหวัดยะลา เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดยะลา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ภาคใต้) เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และผู้ต้องขังคดียาเสพติด โดยการร่วมสังเกต และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม พบว่า ปัญหาและอุปสรรคแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1.1) บุคลากรมีไม่เพียงพอไม่มีประสบการณ์ ไม่ใช่คนในพื้นที่และมีปัญหาการใช้ภาษาถิ่น 1.2) โครงสร้างฯการสั่งการไม่เป็นเอกภาพ ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ทำงานแบบต่างคนต่างทำ และที่สำคัญคือผู้บังคับบัญชาไม่เห็นความสำคัญของงานยาเสพติด 1.3) นโยบายเกิดจากผู้บังคับบัญชาไม่ให้การสนับสนุน นโยบายเป็นการมองจากข้างบนลงมาสู่ข้างล่าง 1.4) งบประมาณมีปัญหาเป็นอย่างมาก ไม่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานเท่าที่ควร บางครั้งต้องใช้เงินส่วนตัว ขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัย 1.5) การข่าว ขาดแหล่งข่าวและไม่สามารถเป็นแหล่งข่าวที่ดีได้ 2) ขั้นตอนและวิธีการ ประกอบด้วย 2.1) การสืบสวนสอบสวน ความไม่สงบในพื้นที่เป็นอุปสรรคในการลงพื้นที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่สามารถสืบสวนขยายผลได้ งานมีความล่าช้า 2.2) การประชุมวางแผนเจ้าหน้าที่ใช้ความชำนาญและประสบการณ์เป็นหลัก ขาดข้อมูลจากแหล่งข่าว ขาดการทำงานเป็นทีม 2.3) การจับกุม มีการจับกุมน้อยลงเนื่องจากปัญหาความไม่สงบ การขอหมายค้u3609 นมีความล่าช้า กลุ่มนักค้ามีรูปแบบการค้าที่แนบเนียนและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 2.4) การส่งดำเนินคดีเป็นปัญหาในการดำเนินคดีของกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล

Article Details

บท
บทความวิจัย