ตัวแบบพยากรณ์จำแนกนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าศึกษาในโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Main Article Content

วรพจน์ แซ่หลี

บทคัดย่อ

เครื่องชี้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาประการหนึ่ง คือ คะแนนเฉลี่ยสะสม และความรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบพยากรณ์จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาที่เข้าศึกษาใน โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีตัวแปรต้น คือ คะแนนเฉลี่ยสะสมของกลุ่มสาระวิชาต่างๆ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของนักศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรคือ นักศึกษาโปรแกรวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีการศึกษา 2551 นักศึกษาโปรแกรมวิชา ด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น นำมาวิเคราะห์หาตัวแบบพยากรณ์เพื่อจำแนกกลุ่มเรียนดีและเรียนอ่อน ได้ดังนี้ D ̂ =-5.933 – 0.210 (ภาษาไทย) + 1.075 (คณิตศาสตร์) + 0.377 (ภาษาต่างประเทศ) + 0.594 (วิทยาศาสตร์) – 0.117 (สังคมศึกษา) + 0.384 (การงานและพื้นฐานอาชีพ) อย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับ 0.05 และสามารถทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 60.8 ดังนั้น การคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่เหมาะสมควรมีรูปซึ่งประกอบด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมของทุกกลุ่มสาระวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับผลการสอบวัดความรู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือก

Article Details

บท
บทความวิจัย