การสืบสานการแสดงรองเง็งตันหยงโดยใช้สื่อท่ารำต้นแบบ

Main Article Content

จรรย์สมร ผลบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาองค์ประกอบ รูปแบบการแสดงรองเง็งตันหยงของคณะศรีปากบาง จังหวัดสตูล และศึกษาสื่อท่ารำต้นแบบเพื่อใช้ในการสืบสาน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และภาคสนามโดยการสำรวจ สัมภาษณ์ สังเกตและเรียนรู้การแสดงจากครูภูมิปัญญา ผลวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการแสดงประกอบด้วย ผู้แสดง มีการถ่ายทอดให้แก่เยาวชน การแต่งกายด้วยชุดพื้นบ้านมลายู เครื่องดนตรี มีไวโอลิน รำมะนา และฆ้อง ส่วนรูปแบบการแสดงยังคงมีรำวงแบบดั้งเดิม และได้ปรับการแสดงเป็นเพื่อโชว์เป็นชุด 2) สื่อท่ารำต้นแบบ ผู้วิจัยเลือกใช้วีดิทัศน์และจัดทำคู่มือ ซึ่งได้นำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ฐานข้อมูลวัฒนธรรมการแสดงของคนไทยเชื้อสายมลายู www.tmperformance.org/rhtanyong ทั้งนี้ผลการประเมินคุณภาพของสื่อท่ารำต้นแบบการแสดงรองเง็งตันหยงจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดง ดนตรี และเทคโนโลยี จำนวน 5 ท่าน มีคุณภาพมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจจากบุคลากรทางการศึกษา นักวิชาการวัฒนธรรม นักศึกษาและประชาชนทั่วไป จำนวน 100 คน ต่างมีความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.จรรย์สมร ผลบุญ. (2558). วิวัฒนาการและการพัฒนารูปแบบการสืบสานวัฒนธรรมการแสดง
ของคนไทยเชื้อสายมลายู. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาไทยศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
2.______________. (2558). พัฒนาสื่อท่ารำต้นแบบการแสดงรองเง็งตันหยง. สงขลา :
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
3.นพวรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4.นิสา เมลานนท์. (2555). การพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏลีลานาฏยศัพท์.
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 85-95.
5.พระยาอนุมานราชธน. (2496). เรื่องวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : กองวัฒนธรรม.
6.รัชนีวรรณ เกิดสวัสดิ์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา เรื่อง
ฟ้อนแงน สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
7.สถาพร ศรีสัจจัง, บรรณาธิการ. (2554). ปาฐกถา ศาสตราจารย์สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : เอ็นวายฟิล์ม.
8.เสาวรี ภูบาลชื่น. (2557). พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องรำ�วงมาตรฐานตามแนวคิดซิมพ์ซัน.
วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ฉบับพิเศษประชุม
วิชาการ, 345-346.
9.อนงค์นาฏ ปทุม. (2548). การพัฒนาหลักสูตรละครชาตรีในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
สาระนาฏศิลป์ระดับช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.