การมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชนในการจัดการภัยพิบัติ ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชนในการจัดการภัยพิบัติ ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชนในการจัดการภัยพิบัติและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการภัยพิบัติของเครือข่ายประชาชน ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 35 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง ผู้นำชุมชนทั้ง 11 หมู่บ้าน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงชิง 20 คน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ 4 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีแนวคำถาม ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายประชาชนจัดตั้งมาจากผู้นำชุมชนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มย่อยในเครือข่าย มีการจัดตั้งแบบเป็นทางการ จัดแบ่งหน้าที่ในเครือข่าย จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการและประชุมประชาชน โดยในการจัดการภัยพิบัติของเครือข่ายมีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ ในระยะขั้นก่อนเกิดเหตุ คณะกรรมการและตัวแทนประชาชนจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม ติดตามข่าวสาร จัดเตรียม สถานที่ จัดฝึกอบรมการเตือนภัย ในระยะขณะเกิดเหตุ เครือข่ายได้ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือ และรับบริจาคตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ประชาชนมีการเตรียมพร้อมอพยพ ระยะหลังเกิดเหตุ เครือข่ายขอรับของบริจาค ซ่อมแซม ฟื้นฟูสิ่งชำรุด และตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินความเสียหายและให้ความช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ความช่วยเหลือในระยะหลังเกิดเหตุ เช่น สิ่งของบริจาค เป็นต้น
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.Departmant of Disaster Prevention and Mitigation. (2011). Report of Statistic’s flood in Thailand since 2000-2011. Bangkok: Departmant of Disaster Prevention and Mitigation. (in Thai)
3.Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2014). Disaster Risk Reduction to Sustainable Development. (1 nd.). Bangkok: United Nations Development Programme, Dapartment in Thailand.
(in Thai)
4.Jongsuksomsakun, P. (2013). Disaster Management Communication: The case Study of Flood in Thailand and the Philippines. Journal of business economic and communication, 9(1), 67-83. (in Thai)
5.Meepoon, S. & Inpram, C. (2007). Group formation process in creation of network and participation to prevent public area for natural resource (cockle) Bangkhunsai Subdistrict, Banlham Distric , petchaburi Province. Master’s Dependent Study. Faculty of Management Science, Silapakorn University.(in Thai)
6.MD.Hossain, A. (2013). Community Participation in Disaster Management: Role of Social Work to Enchance Participation. Journal of Anthropology, 9(1),159-168.
7.Oxfam International. (2007). Oxfam Humanitarian Field Studies Disaster Management Policy&Practice: Lessons for Government, Civil Society, the Private Sector in Sri Lanka October. Oxfam research report in Humanitarian. 2006. Boston: np. Specialized Center of flood storm landslide ’s Nakonsrithammarat province. (2011).
8.The summary of flood, storm and land slide report. Nakonsrithammarat: n.p.(in Thai)
9.Thammasang, R. (2010). Flood problem and process management in Disaster Prevention and Mitigation Provincial office a case study in the responsibility province of Chinat,Disaster Prevention and Mitigation regional center sixteen. Master’s Dependent study. faculty of social administration,
Thammasat University. (in Thai)
10.Thanariyawong, P. (2013). The Flood disaster management network in Kao Kor Village, Phrom Khiri District, Nakon Si Thammarat. Journal of Academic Service, 24(1), 51-68. (in Thai)