พื้นที่ย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า : การประกอบสร้างอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวถวิลหาอดีต

Main Article Content

สกาวรัตน์ บุญวรรโณ
เก็ตถวา บุญปราการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยศึกษาการประกอบสร้างอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวถวิลหาอดีตในพื้นที่ย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 คนอาทิ คนเฒ่าคนแก่ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ กลุ่มผู้จัดกิจกรรม ผู้ประกอบการในพื้นที่ เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น พ่อค้าแม่ค้า ชาวบ้านผู้อาศัยที่ย่านเมืองเก่าและนักท่องเที่ยวที่เที่ยวในพื้นที่ นอกจากนั้นยังสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในย่านเมืองเก่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ถอดรหัส ตีความและสร้างข้อสรุป นำเสนอด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ พบว่า การประกอบสร้างความหมายใหม่โดยการถูกทำให้กลายเป็นกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต เป็นการรื้อฟื้น อัตลักษณ์อดีตผ่านการประกอบสร้างกิจกรรม การแต่งกายแบบชุดพื้นถิ่น อาหารพื้นเมือง เป็นการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนไปสู่การผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมทำให้กลายเป็นสินค้าและสามารถจัดจำหน่ายเพื่อรับใช้การท่องเที่ยวเป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านกระบวนการอนุรักษ์รวมไปถึงการนำรากเหง้าของคนมาพัฒนาชุมชนให้อยู่รอดโดยการใช้ทุนจากอดีต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Appadurai, A. (1986). The Social Life of Thing: Commodities in Culture Perspective. New York: University of Cambridge.
2.Cultural Office in Phangnga and Takuapa municipality. (M. PS. PS). document the historic town of Takuapa. Phangnga: Office of Culture and the Municipality Takuapa. (in Thai)
3.Hall, S. (1997). Representation: Cultural representations and signifying practices.London: Sage.
4.Hobsbawm, E. & Ranger, T. (1983). The Invention of Tradition. London: Cambridge University Press.
5.Howell, D.W. (1993). Passport: an introduction to the travel and tourism industry. South Western: N.P. Publishing.
6.Kelly, W. W. (1986). Rationalization and nostalgia: Cultural dynamics of new middle-class Japan. American Ethnologist, 13(November), 603-618.
7.Lefebvre, H. (1991). Translated by Nicholson-Smith. The Production of Space. Blackwell: Publishing. UK.
8.Ongsakul, S. & Ongsakul, S. (2014). Old Town and the town of Takua Pa side in a historical context: the homeland and relatives. Chiang Mai: Wanida printing. (in Thai)
9.Purotakanon, P. (2015). Traveller’s Companion. Bangkok: Pmpublishing. (in Thai)
10.Seublah, K. (2005). The old district of the city and stories. Bangkok: Plan Printing.(in Thai)
11.Watanasawad, K. (2012). Authenticity under a management of Nostalgic Tourism: A Case Study of 100-Year-Old Samchuk market Community, Suphanburi Province. Master’s Thesis. Program in Cultural Resource Management,
Silpakorn University. (in Thai)
12.Wongwipak, C. (2009). Cultural ecology. Bangkok: Silpakorn University. (in Thai)
13.Yanyongkasermsuk, R. (2012). Nostalgic: Ancient in Modern Society. Journal of Politics Administration and Law, 4(2), 59-89. (in Thai)