การศึกษาปัจจัยทางภูมิทัศน์ธรรมชาติและวัฒนธรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความเหมาะสมต่อศักยภาพด้านการเกษตรเพื่อสนับสนุนความต้องการในการจัดตั้งคณะเกษตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Main Article Content

วิไลวัลย์ แก้วตาทิพย์
พรสวรรค์ เพชรรัตน์

บทคัดย่อ

การจัดตั้งองค์กรให้สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชนที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาสภาพทางภูมิทัศน์ธรรมชาติและวัฒนธรรมมความจำเป็น จึงทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นด้านภูมิทัศน์ธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีต่อศักยภาพด้านการเกษตรของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และศึกษาความสัมพันธ์ด้านภูมิทัศน์ธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีความเหมาะสมกับการเกษตรเพื่อสนับสนุนความต้องการในการจัดตั้งคณะเกษตร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 550 คน วิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละและทดสอบความสัมพันธ์ด้วยไคสแควร์ ข้อมูลเชิงคุณภาพศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารในองค์กรทางด้านจัดการศึกษาของ 3 มหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกินร้อยละ 90.00 เห็นด้วยว่าจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส มีภูมิทัศน์ธรรมชาติและวัฒนธรรมเหมาะต่อการเกษตร ผลการทดสอบความสัมพันธ์ด้านภูมิทัศน์ธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีความเหมาะสมกับการเกษตรเพื่อสนับสนุนความต้องการในการจัดตั้งคณะเกษตร พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 จำนวน 9 ประเด็น จากทั้งหมด 11 ประเด็นส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพผู้ให้สัมภาษณ์ 3 คน มีความเห็นว่า พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีพืชพรรณเฉพาะถิ่น การผลิตสัตว์ ในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคโดยเฉพาะโคยังมีการนำเข้า และพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างยังเหมาะสมต่อการเปิดตลาดทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์และบูรไน ดังนั้นการจัดตั้งหน่วยงานหรือการขยายองค์กรเพื่อพัฒนาทางการเกษตร เช่น การจัดตั้งคณะเกษตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือของมหาวิทยาลัยอื่นในภาคใต้ตอนล่าง จะเป็นช่องทางในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาชุมชนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Information Technology & Communication Center, Department of Agricultural Extension. (2014). People of Agricultural Sector [Online]. Retrieved January 19,2014, from: http://www.agriinfo.doae.go.th/ [2014, January 19]. (in Thai)
2.Intharachaimas, W. (2013). Environment with Development of Three Southern Border Provinces. Environment and Development Journal, 1(1), 1-5.(in Thai)
3.Khamphon, R. (2009). Education Management’s Condition of Southern Border Provinces. Semi-Academic Journal, 33(3), 79-82. (in Thai)
4.Ministry of the Interior. (2014). The Census Survey in the Southern Border Provinces [Online]. Retrieved febuary 21, 2014, from: http://www.ryt9.com/s/cabt/146831)%20(22. (in Thai)
5.Partidario, R. M., Sheatel, R. W., Bina, O., Byron, H. & Augusto, B. (2009). Sustainability Assessment for Agriculture Scenarios in Europe’s Mountain Areas: Lessons from Six Study Areas. Environmental Management, 43,144–165. DOI: 10.1007/s00267-008-9206-3.
6.The Committee of State Security, The House of Representatives. (2010). Results of the Study on Unrest in the Southern Provinces and Proactive Solutions. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives. (in Thai)
7.The office of environment 16th. (2011). Plan of Environmental QualitativeManagement of East Zone’s Lower South, Thailand; Patthalung, Songkla, Pattani, Yala and Narathiwat 2007-2011. Songkhla: The office of environment 16th, Ministry of Natural Resources and Environment.(in Thai)
8.The Regulation of Higher Education. (2012). The Regulation of the Higher Education: Subject of Setting Up Governmental Sectional Inside University’s Criterion [Online]. Retrieved January 20, 2014, from: http://
www.mua.go.th/users/hecommission/doc/law/ohec% 20law/2555%20inside% 20division.pdf. (in Thai)