การพัฒนาเครื่องแต่งกายโนราภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ธีรวัฒน์ ช่างสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติที่มาและเครื่องแต่งกายโนรา 2) พัฒนาเครื่องแต่งกายโนราตามความต้องการของชาวบ้านและองค์ประกอบที่สมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ศิลปิน จากอำเภอทุ่งสง หัวไทร สิชล และเมืองนครศรีธรรมราช และนักศึกษาสาขานาฏศิลป์และการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญและการเก็บแบบสอบถาม การแต่งกายโนราในจังหวัดนครศรีธรรมราชในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีลักษณะคล้ายกับการแต่งกายตัวพระของรำซัดชาตรีทางภาคกลาง ศีรษะสวมเทริดแบบภาคใต้ บางคณะมีอินทรธนูประดับบนไหล่ทั้งสองข้าง ในสมัยรัชกาลที่ 5 คณะโนราได้พัฒนาเครื่องแต่งกายมาจนปัจจุบัน 3 แบบ คอ เครื่องต้น ทรงบัว และเครื่องเต็ม โดยมีองค์ประกอบของเครื่องแต่งกายประกอบด้วย เทริด พานโครง คลุมไหล่ 2 ข้าง ปิดคอหน้า หลัง ทับทรวง ปีกหรือหางหงส์ สังวาล ปีกนกแอ่น ปั้นเหน่ง ห้อยหน้า ห้อยข้าง สนับเพลา ผ้ายาว กำไลต้นแขน ปลายแขน กำไลข้อมือ และเล็บ การวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาเครื่องแต่งกายโนราแบบประยุกต์โดยใช้เครื่องแต่งกายแบบเครื่องต้นเป็นพื้นและพัฒนาอินทรธนูที่ร้อยจากเครื่องลูกปัดตามแบบอินทรธนูของละครไทยเสริมบนไหล่ทั้งสองข้าง ผลการวัดความพึงพอใจของเครื่องแต่งกายโนราทั้ง 4 แบบ พบว่า เครื่องแต่งกายทุกแบบมีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.5 ทุกแบบผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาชาวบ้านเรื่องการพัฒนาเครื่องแต่งกายโนรา และสามารถส่งเสริมศิลปินให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Changsan, T. (2006). Nora Beads: Means for Promoting Self-Sufficiency Economics. Journal of Yala Rajabhat University, 1(2), 130-134. (in Thai)
2.Charoensin-O-Larn, C. (2011). Thailand’s Economy Under Globalization: Institutional Reform [Online]. Retrieved October 3, 2014, from: http://www.cicot.or.th/2011/main/content.php?. (in Thai)
3.Culture Office of Nakhon Si Thammarat. (2009). Nora Khlai Kheenorn or Muen Rabam Bantherng Chatree [Online]. Retrieved October 3, 2014, from: http://www.m-culture.go.th/nakhonsithammarat/index.php/. (in Thai)
4.Intangible Cultural Heritage. (2009). Nora [Online]. Retrieved October 3, 2014, from:
http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance. (in Thai)
5.Matichon Group. (2009). Surprised! “Beads” Found in 5 Central Southern Provinces, the place of civilization. Please stop stealing it and conserve it [Online]. Retrieved October 3, 2014, from: http://www.matichon.co.th/news_
detail.php?newsid=1235322754. (in Thai)
6.Patluang, K. (2012). Innovation in Creative Industries: Comparative Case Studies of Community Organisations in Thailand’s Cultural Heritage Industries [Online]. Retrieved October 3, 2014, from: http://eprints.utcc.ac.th/1676/3/1676
fulltext.pdf. (in Thai)
7.phuketbulletin. (2015). Manora: Local Entertainment of Southern Thai People [Online]. Retrieved October 3, 2014, from: http://phuketbulletin.co.th/Travel/view.php?id=1263. (in Thai)
8.Soontranon, C., Muangbun, W., Plabkrasong, P., Aitsarangkun na Ayuttaya, L.,Thongthae, S., Khianthongkun, B., et al. (2008). The Study and Development of Khon and Lakorn Costumes. Bangkok: Amarin Printing & Publishing
Public Co., Ltd. (in Thai)
9.Srorat, S. (1973). Khon Lakorn Dance and Local activities. Bangkok: Phickanas printing.(in Thai)
10.Uppathamnarakorn, B. (2012). Research of Intellectual Arts in Southern Nora costumes. Bangkok: The Higher Education Research Promotion and National Research University Project of Thailand , Office of the Higher Education Commission.