ตัวแทนทางการเมืองในมิติวิถีประชาธิปไตยชุมชน

Main Article Content

ชัยวัฒน์ โยธี

บทคัดย่อ

การปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยมีการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยไปในหลายทิศทาง เรื่องของตัวแทนทางการเมืองก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่สำคัญสำหรับการพัฒนาระบบการเมืองไทยบทความนี้จึงเป็นการนำเสนอถึงมิติความสำคัญของตัวแทนทางการเมืองที่สะท้อนมาจากฐานรากในชุมชนท้องถิ่น โดยการสรรหาคัดเลือกตัวแทนทางการเมืองเพื่อเข้าสู่ระบบการเมืองที่มีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมิติดังกล่าวนี้ผู้เขียนเรียกว่า “มิติวิถีประชาธิปไตยชุมชน” ซึ่งมิติวิถีประชาธิปไตยชุมชนนั้นจะเป็นการแสดงถึงการได้มาซึ่งตัวแทนทางการเมืองที่ถูกสร้างมาจากฐานล่างโดยประชาชน ที่เป็นการใช้กลไกและกระบวนการของการมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือประสานกิจกรรมปฏิบัติการของกลุ่มร่วมกันในชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้ได้ผู้นำตัวแทนที่มีคุณภาพและมีศักยภาพพร้อมที่จะทำงาน เพื่อกิจการสาธารณะและสนองต่อหลักการประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ. (2549). องค์กรชุมชนกับการปฏิรูปสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.
2.ชัยวัฒน์ โยธี. (2558). การสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยชุมชนในจังหวัดสงขลา. ดุษฎีนิพนธ์/หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการเมือง, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
3.ไชยันต์ ไชยพร. (2547). แนวคิดประชาธิปไตย : ประชาธิปไตยจากโบราณสู่สมัยใหม่. ในเอกสารการสอนชุดวิชาแนวคิดทางการเมืองและสังคม (หน่วยที่ 8). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4.ไชยันต์ ไชยพร. (2554). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือถกเถียงกันก่อนการตัดสินใจเพื่อหาฉันทานุมัติหรือใกล้เคียง. เอกสารคำสอนวิชาประชาธิปไตยเปรียบเทียบภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5.ทศพล สมพงษ์. (2555). การสังเคราะห์บทเรียนเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเมืองสถาบันพระปกเกล้า.
6.บูฆอรี ยีหมะ. (2551). การบริหารจัดการท้องถิ่นด้วยแนวคิดประชาธิปไตยแบบร่วมปรึกษาหารือ. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น, 3(1), 11-24.
7.สน รูปสูง. (2553). คู่มือประชาธิปไตยชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง.
8.Dewey, J. (2013). Democracy and education [online]. Retrieved September 11, 2014, from: http://www.Democracy%20and%20education,20% byJohn Dewey.